โดย ต่อ tapae inn » พุธ มิ.ย. 02, 2010 9:41 pm
เอาไปอ่านเล่น ลอกเค้ามา
ประวัติบุหรีไทยในอดีต
การสูบบุหรี่เป็นวัฒนธรรมของไทยมาแต่เก่าก่อนคู่การกินหมาก บ่งบอกถึงฐานะ
และรสนิยมของผู้คนแต่ละยุคสมัยที่พอจะค้นหาเป็นหลักฐานได้กล่าวถึงซอง
สำหรับใส่พลูและบุหรี่ซึ่งต้องมีก้นแหลมจึงจะใส่ลงไปในซองได้ ส่วนบุหรี่ก้นป้าน
มีในปลายแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
บุหรี่ก้นป้านในสมัยนั้นจะปล่อยยาเส้นไว้นอกใบตองให้อมได้พร้อมกับหมากเรียก
กันว่า" บุหรี่ตาขำ " ตามชื่อของผู้มวนขาย พอถึงรัชกาลที่ ๕ มีผู้คิดดัดแปลงตัด
ยาเส้นออกให้พอดีกับใบตองที่มวน ไม่ให้หลุดลุ่ยออกมาข้างนอกอีก นิยมสูบกัน
ทั่วไป ในเวลาเดียวกัน ทางภาคเหนือจะมี " บุหรี่ขี้โย้ " หรือยาเส้นสายพันธ์พื้น
เมือง มวนด้วยใบตองอ่อนตากแห้ง มวนบุหรี่จะมีความยาวเท่ากับใบตองหรือตาม
ความต้องการของผู้สูบ เพราะส่วนใหญ่จะมวนเอง มวนหนึ่งจะสูบได้ตลอดวัน
ที่ว่าเป็นวัฒนธรรมก็มาจากการต้อนรับแขกผู้มาเยือนด้วยหมากพลูและบุหรี่ ทาง
เหนือก็เชิญอมเมี่ยงสูบขี้โย้ สถานที่ยุคเฟื่องฟูของยาสูบหรือบุหรี่ ทำให้ทางภาค
เหนือมีพ่อเลี้ยงเกิดขึ้นหลายคนเรียกกันว่าพ่อเลี้ยงโรงบ่มหรือ โรงอบใบยา
บรรดาสาว ๆ ทั้งหลายที่ทำงานในโรงบ่ม จะว่าไปแล้วก็คือต้นแบบการประกวด
นางงามขี่รถถีบก้างจ้องที่อำเภอสันกำแพง ตอนเช้า ๆ อากาศกำลังเย็นสบาย
พวกหนุ่ม ๆ ที่กำลังทำงานอยู่ในสวนยา ต้องหยุดมือชะเง้อดูสาว ๆ ขี่รถถีบเรียง
กันเป็นแถวยาวไปที่โรงบ่มเพียงแต่ว่าถ้าแดดยังแรงอยู่ก็จะมีร่มกางป้องกันเพิ่มมา
เป็นสีสัน ให้หนุ่มทั้งหลายเก็บเอาไปฝันหวาน
บุหรี่ต่างประเทศเริ่มมีเข้ามาจำหน่ายในเมืองไทยเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๒ ของบริษัท
w . duke and sons companyสหรัฐอเมริกาเป็นผู้ผลิต เป็นบุหรี่ตรานกยูง บรรจุ
ซองสีเหลือง ตัวพิมพ์ดำมี ๑๐ มวน ราคา ๒ ไพ มีขายเพียงตราเดียว แต่ก็ต้องมี
การโฆษณาเชิญชวนเหมือนกัน คือถือจุดธูปไฟไปยืนตรงกลางสะพานหันและ
ประตูสามยอดคอยจุดบุหรี่แจกให้คนไทยได้ชิมรสชาติก่อนจะอุดหนุนเป็นขา
ประจำกันต่อไปต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๙๓ บริษัท ดุ๊ค ร่วมกับบริษัทอื่นเปลี่ยนชื่อ
เป็นบริษัทยาสูบอเมริกา ( the american tobacocompany ) เข้ามาเปิดสาขาใน
ประเทศไทย ตั้งสำนักงานอยู่ที่ตลาดน้อย ถนนเจริญกรุงต่อมาบริษัทยาสูบ
อังกฤษ - อเมริกัน จำกัดแห่งสิงคโปร์ ก็ได้รับช่วงเป็นตัวแทนย้ายสำนัก
งานไปตั้งอยู่ในตรอกโอเรียนเต็ล ขายบุหรี่ตรานกอินทรี . ไพแรต . ทรีคาสเซิล .
แคพ . สะแตนการ์ลิค . สิงโตแดง . ๕๕๕ . เพลเออร์ ฯลฯ ส่วนยาเส้นสำหรับนัก
สูบกับกล้องหรือไปป์ก็มีตราริชมอนด์ และตราแคพสะแตน รวมทั้งยาแท่งสำหรับ
เคี้ยวก็มีบ้างเหมือนกัน
ปี พ.ศ. ๒๔๕๗ บริษัทยาสูบนานยางในเซี่ยงไฮ้ได้ส่งบุหรี่มาให้ห้างยี่ซ้งกงสี ตรา
ท่าน้ำราชวงศ์เป็นผู้แทนจำหน่าย มีตรานกร้อยตัวและตราลูกโลก ขายดีใน
กรุงเทพ ฯ ส่วนตราม้าบินนั้นราคาถูกลงมาหน่อยก็ขายดีตามหัวเมือง ต่อมาในปี
พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้เปิดสาขาที่ถนนเยาวราชขายบุหรี่ตราเจ็ดดวง และมังกรทอง ใน
ปี พ.ศ. ๒๔๖๗ บริษัท ชอร์เตอร์ ( sorter and company )ของเซี่ยงไฮ้ มาตั้ง
สำนักงานขายที่ถนนอนุวงศ์ ชื่อบริษัทลิงโย บุหรี่นี้มีตรานกแดง ตราเลดี้
แฮมิลตัน และตราลอร์ดเนลสัน พิมพ์ซองสวยกว่าซองอื่นและสอดรูปสวยงามไว้
ในซองเป็นการโฆษณา บริษัทนี้ตั้งอยู่ได้ ๓ ปีก็เลิกกิจการไป นอกจากนี้ก็มีบริษัท
ห้างร้านอีกเป็นจำนวนมากที่สั่งบุหรี่จากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายแข่งกัน
ต่อมาไทยเราได้สร้างโรงงานมวนบุหรี่ขึ้นเป็นครั้งแรกโดย นาย ชีปาปา ยาโนปู
สโส ชาวกรีกตอนหลังโอนสัญชาติเป็นไทย นายชีปาปา ได้เข้ามาประกอบกิจการ
ค้ายาสูบในรัชกาลที่ ๕ตอนแรกยังมวนด้วยมือ ขายดีจนมีพนักงานหญิงหลายร้อย
คน พระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงทรงสบพระราชฤทัย จึงพระราชทานเงิน ๑๐
ชั่ง ให้ซื้อเครื่องจักรมวนบุหรี่จากประเทศเยอรมันพร้อมกับเงินทุนหมุนเวียน โรง
งานตั้งอยู่ที่ถนนสี่พระยา ทำบุหรี่หลายรส ใช้ยาเส้นเตอร์กิซผสมด้วย
ทำขายและทำถวายหลายตราหลายชนิด อย่างตราชื่นชมมีทั้งก้นฟางและก้นก๊อก
ตราทวีปัญญา ตราอัษฎางค์และอื่น ๆ ส่งไปขายถึงสิงคโปร์ ฮ่องกง ซัวเถา และ
เซี่ยงไฮ้ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑โรงงานก็ปิดลงเพราะเครื่องชำรุด
โรงงานที่สองมีนายไกรลาศ ฉ่อยตระกูล ( ฉ่อ กอกเหลียง ) เป็นหุ้นส่วนใหญ่ ได้
ร่วมกันจัดตั้งห้างหุ้นส่วนบรูพายาสูบ จำกัด นายไกรลาศนี้เป็นผู้เชี่ยวชาญทาง
ด้านยาสูบ เพราะเคยทำงานอยู่กับบริษัทยาสูบ อังกฤษ - อเมริกา เคยเป็นผู้
จัดการยาสูบ นานยาง สาขากรุงเทพ ฯ และบริษัทลิงโยได้ไปศึกษาการเพราะ
ปลูกที่อเมริกา ๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๖๙ เปิดโรงงานผลิตบุหรี่ขึ้นที่เชิงสะพาน
มอญ ใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาจากเซี่ยงไฮ้ และญี่ปุ่น มีเครื่องมวนบุหรี่ ๒ เครื่อง เมื่อ
ขายดีขึ้น จึงย้ายโรงงานไปที่สะพานเหลืองถนนพระราม ๔ ต่อมาขยายกิจการ
ออกไปอีกจนมีเครื่องมวนบุหรี่ถึง ๒๐ เครื่อง บุหรี่ที่ผลิตออกมาจำหน่ายนั้นส่วน
มากใช้ยาพื้นเมืองทำง่าย ๆ คือใช้เตาอั้งโล่ให้ความร้อนในการอบ การฉีดพ่นปรุง
แต่งรสยา ก็ใช้ฝักบัวรดน้ำต้นไม้เป็นต้น ตราแรกที่ผลิตออกมาจำหน่ายคือ บุหรี่
ตราไตรรงค์ ใช้ยาฉุนจากเมืองกาญจน์บรรจุซองอ่อน ๒๐ มวน ขายปลีก ๖
สตางค์ ขายดีจนสามารถแข่งกับบุหรี่ตราไชโย ของบริษัท อังกฤษ - อเมริกัน แต่
ยาสูบพื้นเมืองก็มีปัญหา เพราะโรงงานจะใช้ยาทั้งใบในการเข้าเครื่องหั่น แต่ชาว
ไร่นิยมขายยาที่หั่นเป็นฝอยแล้ว โดยเอาใบยาสดมาหั่นก่อนแล้วจึงเอาไปตาก
แห้ง ทางบริษัทจึงหันไปสั่งซื้อใบยาจากประเทศจีนและอเมริกา จึงทำให้รสบุหรี่
เปลี่ยนไปขายไม่ค่อยดี ต่อมาได้ทำการโฆษณาโดยสอดคูปองไว้ในซองบุหรึ่เป็น
การล่อใจคนซื้อใครโขคดีก็จะได้คูปองนำไปขึ้นเงิน ๓ บาท ๕ บาทบ้าง ทำให้
ยอดขายกระเตื้องขึ้นมาได้ อีกอย่างหนึ่งตอนตั้งโรงงานใหม่ ๆ คนงานผู้หญิงหา
ยาก ต้องออกอุบายขอให้ลูกหลานผู้หญิงของผู้ถือหุ้นมาช่วยเป็นหน้าม้าทำงาน
จึงมีคนกล้ามาสมัครเพิ่ม จนไม่มีตำแห่น่งจะบรรจุให้ ต้องเหมางานให้ทำ
เช่นพับซองเปล่า คิดให้ร้อยละ ๕ สตางค์ มือใหม่ ๆ ทำได้คนละ ๕๐๐ ซองต่อ
วัน หากชำนาญแล้วอาจจะได้ถึง ๑๕๐๐ ซอง ส่วนค่าบรรจุคิดให้ร้อยละ ๑๐
สตางค์ ทำได้คนละ ๓๐๐ - ๕๐๐ ซองต่อวันพร้อมทั้งอาหาร ๓ มื้อ
ต่อมาบริษัทได้ขยายกิจการและย้ายโรงงานไปตั้งที่สะพานเหลือง ได้เริ่มผลิต
บุหรี่ชั้นดีออกแข่งขันกับบริษัทอื่น มีตราดอกกุหลาบ และตราไพ่สี่แดงพระยา
บรรจุซองแข็ง ๑๐ มวน ๖ สตางค์ ตราหมาจูบรรจุซองอ่อน ๒๐ มวน ราคา ๕
สตางค์ แข่งกับบุหรี่ตราสิงโตแดง ซึ่งขาย ๖ สตางค์ ปรากฏว่าขายดีมาก
บุหรี่กระป๋อง ตรา อี.ที.ซี. ตัวบุหรี่แบน กระป๋องแบน บรรจุ ๕๐ มวน ขาย ๕๐
สตางค์ เป็นที่นิยมมากเพราะมีรสดี พอ ๆ กับบุหรี่อียิบเชี่ยนของต่างประเทศ เมื่อ
บริษัทยาสูบ อังกฤษ - อเมริกัน เข้ามาตั้งโรงงานผลิตบุหรี่ที่บ้านใหม่ ทำให้มีผล
กระทบต่อบริษัทบรูพายาสูบเป็นอย่างมากจนต้องขายกิจการให้รัฐบาล
กรมสรรพสามิต กระทรวงการคลัง รับซื้อไว้เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๔๘๒ เป็น
จำนวนเงิน ๙๐๐๐๐ บาทเปลี่ยนชื่อเป็นโรงงานยาสูบสรรพสามิต ๑ และ ๒ ตาม
ลำดับ อีกบริษัทหนึ่งที่ตั้งขึ้นมาภายหลังและมีชื่อเสียงมากคือบริษัทกวงฮกของ
ชาวจีน มีโรงงานผลิตอยู่ที่เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า ตรงข้ามวัดเลียบ ใช้ใบยา
เวอร์ยิเนียล้วน ๆ ที่สั่งมาจากต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญในการผสมใบยาเมืองเทียน
สิน บุหรี่ที่ผลิตมีตรากวางสามตัวออกผลิตเป็นตราแรก บรรจุซอง ๔ มวน ๔
สตางค์ บุหรี่อื่น ๆ อย่างตราสตางค์ ตราเซี่ยงเจียน ซองละ๑๐ มวน ราคา ๕
สตางค์ ตราคิงคอง ๑๒ มวน และตรา 19 th route ๒๐ มวน ราคา ๑๐ และ ๘
สตางค์บุหรี่ที่ขายดีของบริษัทนี้ ชนิดซองละ ๑๕ มวน ราคา ๕ สตางค์ คือตรา
แมลงปอ และตราสามห่านโรงงานยาสูบของจีนอีกแห่งหนึ่งก็คือ บริษัทฮอฟฟั่น
( hoffan tobaco company ) หรือที่เรียกกันว่าบริษัทเฮาะฮวง ตั้งอยู่ที่ถนนวิทยุ
ตราที่ผลิตออกมาคือ ตราหอยและตรากวาง ซองละ ๑๐ มวน ราคา ๕ สตางค์
นอกจากนั้นยังมีตรานกนางนวลและตราแมงมุม เป็นต้น ขนาดแมกนั่ม ๑๐ มวน มี
ตราผึ้งตรากู๊ดลัค ขายซองละ ๑๐ สตางค์ และ ๖ สตางค์ ยังมีบุหรี่ชนิดซองละ
๒๐ มวน ที่ได้รับความนิยมเหมือนกันคือตรานกแก้ว ต่อมาบริษัทกวงฮก และ
บริษัทฮอฟฟั่น ได้ขายกิจการให้กรมสรรพสามิตในปี พ.ศ. ๒๔๘๔นอกจากนี้ ยังมี
บริษัทที่มีโรงงานเล็ก ๆ อีก ๓ บริษัทคือ บริษัทสวนยาสยาม บริษัทอิสระและห้าง
สยามยาสูบ บริษัทอิสระตั้งอยู่ที่ถนนสุรวงศ์ ทำบุหรี่ตรากระต่ายแดง
ยาสยามตั้งอยู่ที่ถนนเยาวราชทำบุหรี่ตราเสาวคนธ์ ชนิดซองละ ๑๐ มวน ออก
จำหน่ายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ในราคาซองละ๕ สตางค์ ต่อมาได้เลิกกิจการไปทั้ง
สามบริษัท เพราะสู้บริษัทใหญ่ ๆ ไม่ได้ ส่วนบริษัท อังกฤษ - อเมริกัน
จำกัดนั้น ใช้ชื่อย่อว่า บี.เอ.ที มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ลอนดอน บริษัท บี.เอ.ที
ได้จดทะเบียนการค้าที่สิงคโปร์ ได้เข้ามารับช่วงกิจการจากบริษัทยาสูบอเมริกัน
เดิม สั่งบุหรี่ตราสิงโตแดงเข้ามาขายเป็นคู่แข่งกับบุหรี่ตราสามห่านของบริษัท
กวงฮก โดยพยายามขายในราคาที่ต่ำที่สุด เมื่อเริ่มเปิดโรงงานผลิตบุหรี่ที่ถนน
เจริญกรุง บริษัท บี.เอ.ที มีเครื่องมวนบุหรี่ ๒ เครื่อง มีพนักงาน ๓๕๐ คน บุหรี่ที่
ผลิตออกมาจำหน่ายครั้งแรกคือ ตราสีลม และ เรือข้าว ใช้ส่วยผสมใบยาพื้นเมือง
จากเมืองกาญจน์ ๑๐ % และใบยาเวอร์ยิเนียต่างประเทศ ๙๐ % ปรากฏว่าไม่
เป็นที่นิยม เพราะกลิ่นรสอันรุนแรงของยาพื้นเมือง แม้จะลดส่วนผสมลงเหลือ ๕
% แล้วก็ตาม ต่อมาจึงใช้ใบยาจากต่างประเทศล้วน ๆ ผลิตบุหรี่ตรานางสาว
สยามออกมาแข่งกับบุหรี่ตราสามห่านของบริษัทกวงฮก มียอดขายเป็นที่น่าพอใจ
บริษัท บี.เอ.ที ได้ผลิตบุหรี่วันละ ๔ - ๕ ล้านมวน ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๗๘ -
๒๔๘๓ในปลายปี พ.ศ. ๒๔๘๑ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติยาสูบฉบับแรก
ประกาศใช้เมื่อวันที่๒๓ มีนาคม ๒๔๘๑ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปีตามปฏิทิน
หลวง พระราชบัญญัติฉบับมีความมุ่งหมายที่จะบำรุงการเพาะปลูกต้นยาสูบ คุ้ม
ครองกสิกรในเรื่องราคา ควบคุมอุตสาหกรรมการจำหน่ายยาสูบ และให้รางวัลแก่
ผู้ที่ส่งยาสูบออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรกล่าวโดยย่อดังนี้ให้เจ้าพนักงานมี
อำนาจเข้าตรวจโรงงานอุตสาหกรรมและเอกสารสมุดบัญชีต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้
และอำนาจที่จะเข้าประจำเพื่อควบคุมให้การปิดแสตมป์ยาสูบเป็นไปอย่างถูกต้อง
โดยกำหนดยาสูบในซอง ๆ หนึ่งไม่เกิน ๑๐ กรัม ต้องปิดแสตมป์ราคา ๒ สตางค์
เกินกว่า ๓๐ กรัมต้องปิดแสตมป์ในอัตรา ๑ สตางค์ต่อ ๕ กรัม การปิดแสตมป์นี้
ทำให้บริษัทบุหรี่ต้องเพิ่มราคาขายขึ้นอีกเช่นกันเมื่อเข้าสู่ภาวะสงครามในปี พ.ศ.
๒๔๘๓ บริษัท บี.เอ.ที จำต้องขายกิจการให้กับรัฐบาล กรม สรรพสามิต กระทรวง
การคลังตกลงรับซื้อกิจการและทรัพย์สินของบริษัทไว้ตั้งแต่วันที่๑ กันยายน
๒๔๘๔ ตกลงทำสัญญาเมื่อวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๘๔ ก่อนประเทศไทยจะเข้าสู่
สงครามเพียง ๒ วัน โรงงาน บี.เอ.ที นี้เราเรียกกันว่า " โรงงาน ยาสูบไทยบ้าน
ใหม่ "และเปลี่ยนชื่อเป็นชื่อ โรงงานยาสูบไทยเวอร์ยิเนีย ๑ และ โรงงานสรรพ
สามิต ๑ และโรงงาน ยาสูบ ๑ ตามลำดับตั้งงแต่นั้นมาโรงงานยาสูบไทยก็ได้
กำเนิดขึ้นโดยสมบรูณ์ รวมกับโรงงานของบริษัทบูรพายาสูบบริษัทกวงฮก
บริษัทยาสูบฮอฟฟั่น และ โรงงานซิการ์ไทย ซึ่งโอนมาภายหลังใน พ.ศ. ๒๔๘๘
ด้วยมาตรา ๒๑ ในพระราชบัญญัติยาสูบ พ.ศ. ๒๔๘๖ ที่ระบุว่า การประกอบ
อุตสาหกรรมซิกาแรตเป็นการผูกขาดของรัฐตั้งแต่นั้นมา....
(ข้อมูลจากhttp://www.littlecatzhome.net/ ป้าเล็ก)
mongkonrut@gmail.com ติดต่อ ต่อ 0815301651
ชื่อบัญชี มงคลรัฐ โอจรัสพร ธนาคาร ทหารไทย สาขา ตลาดวโรรส เชียงใหม่ 485 2 08023 5