หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

พูดคุยเรื่องทั่วไป ตามสไตล์ชาวโค้ก

หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 4:57 pm

ภาพยนตร์ไทย
ภาพยนตร์ไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน ภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกถ่ายทำในเมืองไทย คือ เรื่อง นางสาวสุวรรณ ผู้สร้าง คือ บริษัทภาพยนตร์ ยูนิเวอร์ซัล ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้ผู้แสดงทั้งหมดเป็นคนไทย พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น เป็นภาพยนตร์ขนาด 35 มิลลิเมตร ขาว-ดำ ไม่มีเสียง ได้รับการยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย

ในช่วงหลัง พ.ศ. 2490 ถือเป็นช่วงยุคเฟื่องฟูของภาพยนตร์ไทย สตูดิโอถ่ายทำและภาพยนตร์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หลังจากนั้นประเทศไทยเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นช่วงซบเซาของภาพยนตร์ไทย เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กิจการภาพยนตร์ในประเทศไทยค่อย ๆ ฟื้นคืนกลับมา ได้เปลี่ยนไปสร้างเป็นภาพยนตร์ขนาด 16 มิลลิเมตรแทน และเมื่อบ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขัน ภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 ต่อมาภาพยนตร์ไทยในช่วงปี พ.ศ. 2530-2539 โดยในตอนต้นทศวรรษวัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ นอกจากภาพยนตร์ประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ และหนังเกรดบี ก็มีการผลิตมามากขึ้น

ปัจจุบันประเทศไทยมีภาพยนตร์ที่มุ่งสู่ตลาดโลก เช่น ภาพยนตร์เรื่อง ต้มยำกุ้ง ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสในประเทศสหรัฐอเมริกา และยังมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์
ส่วนการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชนได้มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ และการมอบรางวัลทางภาพยนตร์อยู่หลายโครงการ

ประวัติ
ยุคเริ่มต้น

ชาวสยามได้รู้จักและชื่นชมซีเนมาโตกราฟ ประดิษฐกรรมภาพยนตร์ของตระกูลลูมิแอร์แห่งฝรั่งเศส โดยนักฉายภาพยนตร์เร่คนหนึ่ง นาม เอส. จี. มาร์คอฟสกี เข้ามาจัดฉายเก็บค่าดูจากสาธารณชนเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2440 ณ โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสงเล่นเงาบนจอผ้าขาว ทำนองเดียวกับ หนังใหญ่ หนังตะลุง มหรสพดั้งเดิมที่ชาวสยามรู้จักกันดีอยู่แล้ว ปี พ.ศ. 2447 คณะฉายภาพยนตร์แบบหนังเร่ชาวญี่ปุ่นนำหนังเข้ามาฉาย โดยเนื้อหาส่วนใหญ่เป็นเหตุการณ์การสู้รบระหว่าง ญี่ปุ่นกับรัสเซีย เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรกได้ผลดี จึงกลับมาฉายหนังเร่ในเมืองไทยอีกครั้ง และครั้งนี้ได้สร้างโรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น[4] จนในที่สุดตั้งโรงฉายหนังฝรั่งเป็นโรงถาวรรายแรกของสยาม เปิดฉายหนังประจำ บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง

พ.ศ. 2465 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างภาพยนตร์ชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล ได้มาถ่ายภาพยนตร์ในประเทศไทยเรื่อง นางสาวสุวรรณ โดยได้รับความช่วยเหลือ จากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง โดยใช้นักแสดงไทยทั้งหมด ซึ่งนับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย โดยมีนายเฮนรี่ แมคเรย์ กำกับการแสดง นายเดล คลองสัน ถ่ายภาพ นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร และหลวงภรตกรรมโกศล ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นเป็นพระเอก นางเอกและผู้ร้าย คนแรกของเมืองไทย ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชน

รูปภาพ
ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ถือว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกที่มีนักแสดงไทยทั้งหมด

ต่อมาในปี พ.ศ. 2468 คณะสร้างภาพยนตร์จากฮอลลีวูดอีกคณะ เดินทางเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "ช้าง" โดยใช้ผู้แสดงเป็นชาวสยามทั้งหมดเช่นกัน ในเวลาที่ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ออกฉายในประเทศสยามนั้น คนไทยได้สร้างหนังบันเทิงและนำออกฉายแล้วหลายเรื่อง ผู้คนจึงไม่ค่อยตื่นเต้นกับภาพยนตร์เรื่อง ช้าง กันมากเท่าที่ควร


ความรุ่งโรจน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุคบุคเบิก (2470 - 2489)

บริษัทกรุงเทพภาพยนตร์สร้างหนังเรื่องแรกเสร็จ ให้ชื่อเรื่องว่า โชคสองชั้น เนื้อเรื่องแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ) ถ่ายภาพโดยหลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัครทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร นางเอกละครร้องและละครรำมีชื่ออยู่ในขณะนั้น หลวงภรตกรรมโกศล ตัวโกงจากเรื่อง นางสาวสุวรรณ แสดงเป็นผู้ร้าย

ภาพยนตร์ออกฉายเป็นครั้งแรกที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ได้รับการตอบรับจากประชาชนจำนวนมาก อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน นับว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มีมหาชนไปดูกันมากที่สุด ได้การยอมรับให้เป็นภาพยนตร์ประเภทเรื่องแสดงเพื่อการค้าเรื่องแรกที่สร้างโดยคนไทย อีกเดือนเศษต่อมา บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย จึงสร้างหนังของตนเรื่อง ไม่คิดเลย สำเร็จออกฉายในเดือนกันยายนปีนั้น

ภาพยนตร์ทั้งสองเรื่องต่างเป็นภาพยนตร์เงียบที่ประสบความสำเร็จ หลังจากนั้น ทั้งสองบริษัทได้พยายามสร้างภาพยนตร์เรื่องต่อ ๆ มา และมีผู้สร้างภาพยนตร์รายใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ปี พ.ศ. 2470 เป็นปีที่เริ่มยุคหนังเสียง ที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (sound on film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (talkie) ของฮอลลีวู้ด ปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์และภาพยนตร์เสียงในฟิล์มเข้ามาฉายในกรุงเทพ

รูปภาพ
จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ดาราคู่แรกของไทย

ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก โดยพี่น้องวสุวัต ประเดิมถ่ายทำได้แก่ภาพยนตร์ข่าว สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมา ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉาย สู่สาธารณะที่ โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 ได้รับความชื่นชม ต่อมา พี่น้องวสุวัต ซึ่งขณะนั้นเรียกชื่อ กิจการสร้างภาพยนตร์ของพวกตน เป็นทางการว่า 'บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง

ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง ถือเป็นภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งพิเศษกว่าทุกปีเพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 150 ปี ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศจะเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปรกติ ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงประสบความสำเร็จอย่างยิ่ง

ยุคนี้จัดว่าเป็นยุคทองยุคหนึ่งของวงการหนังไทย เพราะบริษัทเสียงศรีกรุงสร้างหนังตามที่เห็นว่าเหมาะสม และยังได้พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา หนังของบริษัทนี้ได้รับการต้อนรับในทุกแห่ง ยังเป็นที่กำเนิดของดาราคู่แรกของ วงการภาพยนตร์ไทย คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ และยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง 'บริษัทไทยฟิล์ม

ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและถูกแทนที่โดยภาพยนตร์เสียง ภาพยนตร์นำเข้าหลายเรื่องไม่มีบรรยายไทยจึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยาย นักพากย์ที่มีชื่อเสียง คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง)

ต่อมา ทิดเขียวก็ได้ผันตัวเองไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย โดยภาพยนตร์เรื่องแรกที่ทิดเขียวทดลองพากย์เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน ด้วยความคึกคักของกิจการภาพยนตร์ต่างประเทศพากย์ไทย ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์ไทยบางรายซึ่งไม่มีทุนรอนมากนักเริ่มมองเห็นทางที่จะสร้างภาพยนตร์ให้ประสบความสำเร็จโดยไม่ต้องลงทุนมากมายวิธีดังกล่าวคือ ลงมือถ่ายทำโดยไม่บันทึกเสียงเช่นเดียวกับภาพยนตร์เงียบ หลังจากนั้น จึงเชิญนักพากย์ฝีมือดีมาบรรเลงเพลงพากย์ในภายหลัง ผู้ที่เริ่มบุกเบิกวิธีดังกล่าว คือ บริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 ราย ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และบริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์ ซึ่งได้ทดลองสร้างหนังเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างดียิ่ง จึงทำให้เกิดผู้สร้างรายเล็กรายใหญ่ตามมาหลายราย

ในช่วงปี พ.ศ. 2483 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในยุโรป ได้ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนฟิล์มถ่ายภาพยนตร์ขนาด 35 มม. ผู้สร้างหนังในประเทศไทยจึงหันมาใช้ฟิล์มขนาด 16 มม. แทนฟิล์มขนาด 35 มม. กิจการหนังพากย์สามารถยืนหยัดจนผ่านพ้นวิกฤตการณ์ไปได้ด้วยการหันมาใช้ฟิล์ม 16 มม. ซึ่งยังพอหาได้จากท้องตลาด ดังนั้น ตลอดเวลาที่เกิดสงครามจึงมีหนังพากย์ 16 มม. ออกฉายโดยตลอดแม้จะไม่ต่อเนื่องก็ตาม

ในช่วงสงคราม ผู้สร้างหนังหลายรายสามารถสร้างหนังออกมาได้เรื่อย ๆ การสร้างหนังไปหยุดชะงักลงอย่างถาวรก็ในช่วงปลาย ๆ สงคราม ทั้งนี้เพราะในช่วงเวลานั้น กรุงเทพถูกทิ้งระเบิดอย่างหนักหน่วงทั้งกลางวันกลางคืน ทำให้ไฟฟ้าดับอยู่เสมอ โรงหนังหลายโรงจึงต้องปิดกิจการชั่วคราว


ภาพยนตร์ไทยในยุค 16 มม. (2490 - 2515)

รูปภาพ
ภาพยนตร์เรื่องอินทรีทอง นำแสดงโดย พระนางคู่ขวัญ 'มิตร-เพชรา'

ผู้สร้างหนังไทยหันมานิยมสร้างด้วยฟิล์ม 16 มิลลิเมตร แทน 35 มิลลิเมตร ที่เคยสร้าง ภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตรเรื่อง สุภาพบุรุษเสือไทย ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ ละออ ทิพยวงศ์ สอางค์ ทิพยทัศน์ ประชุม จุลละภมร และเกื้อกูล อารีมิตร ภาพยนตร์ประสบความสำเร็จทั้งในด้านรายได้และคำชมเชย
การสร้างภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย แม้ว่าภาพยนตร์ที่ถ่ายทำด้วยฟิล์ม 16 มม. จะไม่จัดว่าได้มาตรฐาน แต่การถ่ายทำสามารถทำได้อย่างรวดเร็ว สามารถล้างฟิล์มแล้วนำออกฉายได้เลยแล้ว อีกทั้งต้นทุนต่ำกว่าการถ่ายทำภาพยนตร์ในระบบ 35 มม. และสามารถกอบโกยกำไรได้อย่างงดงาม จึงเป็นแรงจูงใจให้มีนักสร้างภาพยนตร์มือสมัครเล่น กระโดดเข้ามาเป็นผู้อำนวยการสร้างกันมาก โดยเฉพาะในช่วงปี พ.ศ. 2500-2515 ช่วงเวลา 15 ปีเต็มอันเป็นช่วงรุ่งเรือง ของภาพยนตร์ไทยในระบบ 16 มม. นี้ แต่ก็เป็นในเชิงปริมาณมากกว่าคุณภาพ และในบางครั้งภาพยนตร์เหล่านี้มีลักษณะหลายประการที่คล้ายคลึงกันจนดูเป็นสูตรสำเร็จ ที่เน้นความเพลิดเพลินเพื่อนำคนดูออกจากโลกแห่งความเจริญเป็นสำคัญ โดยส่วนใหญ่จะต้องมีครบรสทั้งตลก ชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา บู๊ล้างผลาญรวมไปถึงโป๊บ้างในบางฉาก เรื่องราวมักเป็นแบบสุขนาฏกรรมและจบลงด้วยธรรมะชนะอธรรมเสมอ

ปัจจัยสำคัญของภาพยนตร์ยุคนี้ คือ ดาราในยุคนั้น มิตร ชัยบัญชาได้เล่นหนังเป็นพระเอกมาแล้วถึง 300 เรื่อง ส่วนฝ่ายหญิงก็จะมีดาราหญิงอยู่กลุ่มหนึ่งผลัดเปลี่ยนกันขึ้นอันดับดารายอดนิยม นับตั้งแต่วิไลวรรณ วัฒนพานิช, อมรา อัศวนนท์ และ รัตนาภรณ์ อินทรกำแหง ทั้งนี้ ก่อนปี พ.ศ. 2502 คู่พระ-คู่นางที่ผูกขาดวงการภาพยนตร์ไทยก็ยังไม่ปรากฏ มีเพียงกลุ่มนักแสดงชั้นนำที่คนดูให้การยอมรับหรือชื่นชมเท่านั้น จนมาในปี พ.ศ. 2505-2513 พระเอก-นางเอก ของวงการภาพยนตร์ไทยจึงได้ถูกผูกขาดโดย 'มิตร-เพชรา'

ระบบการถ่ายทำภาพยนตร์ไทยส่วนใหญ่ยุคนั้น ตัวแสดงพูดไปตามบทโดยไม่มีการบันทึกเสียง นักพากย์จึงกลายเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้ภาพยนตร์เหล่านั้นสามารถสื่อสารกับคนดูได้ ก็เป็นแม่เหล็กสำคัญในการดึงให้ผู้ชมมาชมภาพยนตร์ ในช่วงเวลานั้นนักพากย์ที่คนส่วนใหญ่รู้จัก ได้แก่ รุจิรา-มารศรี พันคำ (พร้อมสิน สีบุญเรื่อง) เสน่ห์ โกมารชุน จุรี โอศิริ สีเทา สมพงษ์ วงศ์รักไทย ฯลฯ


ภาพยนตร์ไทยกับการสะท้อนภาพสังคม (2516 - 2529)


ในภาวะที่บ้านเมืองเข้าสู่ภาวะคับขันไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์ 14 ตุลา 16 และ 6 ตุลา 19 เป็นต้นมาจนถึงราวปี พ.ศ. 2529 มีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้แสดงบทบาทของตนในฐานะกระจกสะท้อนปัญหาการเมือง และสังคม ในช่วงเวลาระหว่างปี พ.ศ. 2516-2529 โดยเฉพาะในปีพ.ศ. 2521-2525 นั้น เป็นช่วงที่หนังสะท้อนสังคมโดดเด่นที่สุด จนอาจกล่าวได้ว่า นี่คือยุคทองของหนังสะท้อนสังคม

รูปภาพ
ภาพยนตร์เรื่องเขาชื่อกานต์ นำแสดงโดย สรพงษ์ ชาตรี, นัยนา ชีวานันท์ และภิญโญ ทองเจือ

เมื่อ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2513 และส่งผลให้หนัง 16 มม. ถึงจุดจบตามไปด้วย เป็นช่วงเวลาที่กิจการสร้างหนังไทยกำลังเปลี่ยนทั้งระบบ จากการสร้างภาพยนตร์ 16 มิลลิเมตร พากย์สด ไปเป็นการสร้างภาพยนตร์ 35 มิลลิเมตร เสียงในฟิล์ม อันเป็นผลจากการตั้งเงื่อนไขในการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยของรัฐบาล ในช่วงนั้นได้มีผู้กำกับหัวก้าวหน้าอย่างเปี๊ยก โปสเตอร์ ที่สร้าง โทน ด้วยระบบ 35 มม. แม้ว่าเนื้อหาจะเน้นความบันเทิงเป็นหลัก ทว่าแฝงแรงบันดาลใจให้คนหลายคน โดยเฉพาะ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย และสักกะ จารุจินดา ทำหนังเชิงวิพากษ์สังคมก่อนเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลา 16

ภาพยนตร์เรื่อง เขาชื่อกานต์ มีปัญหากับเซ็นเซอร์ตั้งแต่ต้นแล้ว เพราะเป็นหนังเรื่องแรกที่สร้างขึ้นมาพูดถึงระบบการฉ้อราษฎร์บังหลวงโดยตรง[14] ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีใครกล้าแตะต้อง ในระยะไล่เลี่ยกัน สักกะ จารุจินดา ได้นำ ตลาดพรหมจารี ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับการยอมรับจากทั้งนักวิจารณ์และคนดู

ในภาพยนตร์เรื่อง เทพธิดาโรงแรม ได้มีภาพส่วนหนึ่งเป็นภาพเหตุการณ์จริงในการเดินขบวน เมื่อเข้าฉายในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2517 เทพธิดาโรงแรม ประสบความสำเร็จอย่างมากมาย หลังจากนั้น ท่านมุ้ยได้สร้างหนังออกมาอีกหลายเรื่อง ทั้งที่เป็นหนังรักและหนังวิพากษ์สังคม อย่างเช่น เทวดาเดินดิน เป็นหนังอีกเรื่องที่เรียกได้ว่าสร้างขึ้นมาด้วยเจตจำนงที่จะวิพากษ์วิจารณ์สังคมเมื่อประชาธิปไตยเบ่งบานจนเฟ้อ หลังจากโศกนาฏกรรมที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ผ่านไป บ้านเมืองกลับเข้าสู่ยุคมืดอีกครั้ง เมื่อ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร ได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี บ้านเมืองไม่ผิดแผกจากยุคเผด็จการทหาร คนทำหนังส่วนใหญ่จึงต้องตกอยู่ในภาวะจำยอม ผู้สร้างหนังจำต้องยุติบทบาททางการเมืองของตนเองลงโดยปริยาย หนังที่ผลิตออกมาในช่วงนี้กลับสู่ความบันเทิงเต็มรูปแบบอีกครั้ง ส่วนใหญ่เป็นหนังตลกที่ครองตลาด ไม่ว่าจะเป็น รักอุตลุด หรือ เทพบุตรต๊ะติ๊งโหน่ง ของสมพงษ์ ตรีบุปผา

ในสมัยรัฐบาลธานินทร์ มีมาตรการขึ้นภาษีการนำเข้าภาพยนตร์ต่างประเทศ จากเมตรละ 2.20 บาท เป็นเมตรละ 30 บาท ส่งผลทำให้ผู้สั่งหนังเทศต้องชะลอการสั่งหนังลงชั่วคราว ในทางตรงกันข้ามกลุ่มผู้สร้างหนังไทยได้รับความคึกคักขึ้น ในช่วงเวลานี้เองมีการผลิตหนังไทยเพิ่มถึงปีละ 160 เรื่อง

ปี พ.ศ. 2521-2523 หนังสะท้อนสังคมโดยกลุ่มผู้สร้างที่เป็นคลื่นลูกใหม่ได้เข้าสู่วงการภาพยนตร์อย่างมากมาย อาทิ ครูบ้านนอก เทพธิดาบาร์ 21 น้ำค้างหยดเดียว เมืองขอทาน ฯลฯ ในจำนวนนี้ ครูบ้านนอก ถือว่าประสบความสำเร็จสูงสุด แม้กลุ่มนักแสดงจะเป็นคนหน้าใหม่แทบทั้งสิ้น


ภาพยนตร์ไทยในทศวรรษ (2530 - 2539)

รูปภาพ
ภาพยนตร์เรื่องบ้านผีปอบ

ในช่วงต้นทศวรรษ วัยรุ่นเป็นกลุ่มเป้าหมายใหม่ของคนทำหนังไทยตั้งแต่ราวปี พ.ศ. 2531-2532 หลังความสำเร็จของ ซึมน้อยหน่อยกะล่อนมากหน่อย, ปลื้ม ,ฉลุย และบุญชูผู้น่ารัก (พ.ศ. 2531) เรื่องหลังเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของบัณฑิต ฤทธิ์ถกล ผู้กำกับรุ่นเดียวกับยุทธนา มุกดาสนิท ซึ่งหลังจากหนังเรื่องนี้ บัณฑิตก็กลายเป็นคนทำหนังร่วมสมัยที่มีหนังทำเงินและหนังคุณภาพมากที่สุด ระหว่างปี 2531-2538 บัณฑิตทำหนังชุดบุญชูถึง 6 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2534 ไทเอนเตอร์เทนเมนท์ ประสบความสำเร็จกับภาพยนตร์เรื่อง กลิ้งไว้ก่อนพ่อสอนไว้

นอกจากหนังประเภทวัยรุ่นแล้ว หนังผี และหนังบู๊ รวมทั้งหนังโป๊ (เป็นแนวพิเศษที่แยกออกมาจากหนังชีวิต นิยมสร้างกันในช่วงปี พ.ศ. 2532-2535 โดยมีตลาดวิดีโอเป็นเป้าหมายหลัก) ส่วนใหญ่เป็นหนังเกรดบี หรือ หนังลงทุนต่ำของผู้สร้างรายเล็ก ๆ หนังที่โดดเด่นในบรรดาหนังเกรดบี คือ หนังผีในชุดบ้านผีปอบ ซึ่งสร้างติดต่อกันมากว่า 10 ภาคในระหว่างปี พ.ศ. 2532-2537 เหตุเพราะเป็นหนังลงทุนต่ำที่ทำกำไรดี โดยเฉพาะในตลาดต่างจังหวัด

ในช่วงปลายทศวรรษ คนทำหนังไทยได้ปรับปรุงคุณภาพของงานสร้าง จนกระทั่งหนังไทยชั้นดีมีรูปลักษณ์ไม่ห่างจากหนังระดับมาตรฐานของฮ่องกง หรือ ฮอลลีวูดแต่จำนวนการสร้างหนังก็ลดลง จากที่เคยออกฉายมากกว่า 100 เรื่อง ในปี พ.ศ. 2533 ลดลงเหลือเพียงราว 30 เรื่องในปี พ.ศ. 2539 ทางด้านรายได้ จากเพดานรายได้ จากระดับ 20-30 ล้านบาท (ต่อเรื่อง) ในระหว่างปี 2531-2534 สู่ระดับ 50- 70 ล้านบาท ในระหว่างปี 2537-2540 แต่ยังห่างจากความสำเร็จของหนังฮอลลีวูดที่พุ่งผ่าน 100 ล้านบาทเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539

การเปลี่ยนแปลงของวงการภาพยนตร์ไทยนั้น มีผลจากการเติบโตของตลาดวิดีโอ และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องของหนังฮอลลีวูดและการปรับเปลี่ยนรูปแบบโรงหนังในกรุงเทพฯ สู่ระบบมัลติเพล็กซ์ ซึ่งเริ่มต้นในปี พ.ศ. 2537 โรงหนังขนาดย่อยในห้างที่มีระบบเสียงและระบบการฉายทันสมัยเหล่านี้ นอกจากจะถูกสร้างให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตแบบใหม่ของคนเมืองแล้ว ยังมุ่งรองรับหนังฮอลลีวูดเป็นหลัก ทำให้หนังไทยถูกลดจำนวนลงไปเรื่อย ๆ


ภาพยนตร์ไทยในปัจจุบัน

รูปภาพ
2499 อันธพาลครองเมือง
เมื่อเริ่มต้นทศวรรษใหม่ในปีพ.ศ. 2540 ก็มีปรากฏการณ์ที่สร้างความตื่นตัวให้แก่วงการหนังไทยอีกครั้ง นั่นคือความสำเร็จชนิดทำลายสถิติหนังไทยทุกเรื่อง ด้วยรายได้มากกว่า 70 ล้านบาทจากหนังของไทเอ็นเตอร์เทนเมนท์ เรื่อง 2499 อันธพาลครองเมือง

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540-2548 ทางด้านการทำรายได้มีการสร้างสถิติอย่างต่อเนื่อง ภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุดตลอดกาล 20 อันดับแรกล้วนอยู่ในช่วง ปี 2540 ? 2548 มีภาพยนตร์ไทย 9 เรื่องสามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท โดยภาพยนตร์เรื่อง สุริโยไท (2544) รายได้ภายในประเทศกว่า 700 ล้านบาท เป็นภาพยนตร์ที่ทำรายได้สูงสุด นางนาก ที่ออกฉายต้นปี 2542 กวาดรายได้ไปถึง 150 ล้านบาท บางระจัน ของ ธนิตย์ จิตต์นุกูล กวาดรายได้ 150.4 ล้าน มือปืน/โลก/พระ/จัน ของผู้กำกับฯ ยุทธเลิศ สิปปภาค 120 ล้าน และ สตรีเหล็ก ของ ยงยุทธ ทองกองทุน 99 ล้าน ในปี 2544 ถือเป็นปีทองที่น่าจดจำของวงการภาพยนตร์ไทยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยกำลังเข้าไปสู่ยุคการแข่งขันที่รุนแรงอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน นั่นเป็นเพราะกระแสโลกที่เป็นตัวกำหนดรสนิยมของการดูภาพยนตร์ของคนไทยเริ่มเปลี่ยนไป พร้อม ๆ กับการเข้ามาของกลุ่มผู้กำกับฯ คลื่นลูกใหม่ ที่มีศิลปะในการจัดการทางด้านธุรกิจ การใช้สื่อโฆษณาทุกรูปแบบกระตุ้นผู้บริโภค

แนวภาพยนตร์ มีทั้งแนวอิงประวัติศาสตร์ ภาพยนตร์ตลก ภาพยนตร์สยองขวัญ ภาพยนตร์ที่สร้างให้เกิดกระแสสังคม ภาพยนตร์ที่สะท้อนอุดมคติของความเป็นไทย ภายหลังการล่มสลายทางเศรษฐกิจ ผู้คนเริ่มหันกลับมาค้นหาคุณค่าของความเป็นไทยด้วยความรู้สึกชาตินิยมจึงถูกปลุกขึ้นมาในช่วงนี้

นอกจากนี้ ภาพยนตร์ไทยยังได้การยอมรับในต่างประเทศ ภาพยนตร์เรื่องต้มยำกุ้ง หรือ The Protector ถือเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกในประวัติศาสตร์ที่สามารถขึ้นไปอยู่บนตารางบ็อกซ์ออฟฟิสภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องได้ตีตลาดต่างประเทศ อย่างภาพยนตร์เรื่อง โกลคลับ, สุริโยไท, จัน ดารา, บางระจัน, ขวัญเรียม, นางนาก, สตรีเหล็ก, ฟ้าทะลายโจร, บางกอกแดนเจอรัส และ 14 ตุลาฯ และมีภาพยนตร์ไทยหลายเรื่องที่เป็นที่ยอมรับในเทศกาลภาพยนตร์อย่าง บางกอกแดนเจอรัส (2543) ไปเปิดตัวที่งานเทศกาลหนังที่โทรอนโต หรือ เรื่องรักน้อยนิดมหาศาล ของเป็นเอก รัตนเรือง และในปี 2550 ภาพยนตร์ในรูปแบบชายรักชายเรื่อง เพื่อน...กูรักมึงว่ะ โดยผู้กำกับ พจน์ อานนท์ คว้ารางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ยม จากการประกวดในเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติที่ประเทศเบลเยียมมาได้

ข้อมูลจาก วิกิพีเดีย
แก้ไขล่าสุดโดย haru เมื่อ อังคาร ก.ย. 15, 2009 4:59 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 4:58 pm

ต่อไปขอเอาหนังในดวงใจผมมาลงบ้างนะครับ ในเบื้องต้นผมขอเรียนว่า ผมจะเน้นหนังไทยเป็นหลักนะครับ ^+ ^+
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 5:03 pm

เรื่องแรกเลยต้องเป็นเรื่องนี้ครับ ตราตรึ้งใจตั้งแต่ครั้งเป็นเด็กน้อย....

บุญชู

บุญชู ผู้น่ารัก

รูปภาพ

บุญชู ผู้น่ารัก หรือ บุญชู ภาค 1 เป็นภาพยนตร์ไทยกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายในปี พ.ศ. 2531 นำแสดงโดย นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ วัชระ ปานเอี่ยม จินตหรา สุขพัฒน์ นิรุตต์ ศิริจรรยา ญาณี จงวิสุทธิ์ อรุณ ภาวิไล เกียรติ กิจเจริญ โรม อิศรา ชัยชนะ สันทัตกิจการ เผ่าทอง ทองเจือ

บุญชู บ้านโข้ง เด็กหนุ่มสุพรรณ แสนซื่อเดินทางเข้ากรุงเทพฯพร้อมกับบัวลอยหลานสาวซึ่งเป็นลูกสาวของบุญช่วยพี่ชายของบุญชู เพื่อเรียนกวดวิชาก่อนที่จะสอบเข้ามหาวิทยาลัย โดยหวังจะเข้า คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บุญชูได้พบกับเพื่อน ๆ และโมรีสาวน้อยน่ารัก ทุกวัน โมรีจะนั่งเรือข้ามฝากมาขึ้นที่ท่าของบุญช่วยพี่ชายของเขา บุญชู


บุญชู 2 น้องใหม่

รูปภาพ

บุญชู 2 น้องใหม่ หรือ บุญชู ภาค 2 เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2532 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ญาณี จงวิสุทธิ์ วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ นฤพนธ์ ไชยยศ กฤษณ์ ศุกระมงคล อรุณ ภาวิไล เกรียงไกร อมาตยกุล ธงชัย ประสงค์สันติ ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำรายได้ 16 ล้านบาทในสมัยนั้น

จากภาคที่แล้ว ผองเพื่อนของบุญชูต่างสอบติดเข้ามหาวิทยาลัยได้ตามที่ตนต้องการดังนี้

หยอย สอบติดคณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นรา สอบติดคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ประพันธ์ สอบติดคณะสัตว์แพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เฉื่อย สอบติดคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร คำมูล สอบติดคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร โมรี สอบติดคณะวารสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

โดยคราวนี้โมรีได้รู้จักกับเพื่อนใหม่อีกคนคือ ไวยกรณ์ ซึ่งเรียนคณะเดียวกัน และมาเข้าก๊วนกับกลุ่มของบุญชูได้อย่างสนิทสนม

ส่วนบุญชูที่สอบไม่ติดนั้น หลังจากกลับไปอยู่บ้านเกิดกับแม่ได้พักหนึ่ง ก็เดินทางเข้ากรุงเทพอีกครั้งเพื่อเตรียมตัวสอบใหม่ ขณะเดียวกันก็ใช้เวลาว่างเข้าทำงานกับลุงมหา (ส.อาสนจินดา) บรรณารักษ์ประจำห้องสมุด ซึ่งเป็นคนรู้จักของแม่ ที่นี่บุญชูได้รู้จักกับบุญมา (ธงชัย ประสงสันติ) พนักงานอีกคนที่เพิ่งได้บรรจุเข้าทำงานเหมือนกัน บุญชูและผองเพื่อนยังคงนัดพบปะกันเป็นประจำอย่างที่เคย

โมรีได้เข้าร่วมชมรมค่ายอาสาพัฒนาของทางคณะ และต้องการหาเงินทุนสำหรับใช้ทำกิจกรรม บุญชูและเพื่อนๆจึงช่วยกันร่วมแรงออกหาสปอนเซอร์ให้ ต่อมาหลังจากประชุมค่ายอาสาเสร็จและเตรียมตัวจะออกเดินทาง เงินห้าหมื่นบาทที่โมรีเก็บไว้เกิดหายไปในช่วงที่คลาดสายตาเพียงชั่วขณะ โมรีจึงออกปากรับผิดชอบโดยการตั้งใจจะลาออกหากไม่สามารถหาเงินมาคืนได้ มีสมาชิกชมรมคนหนึ่งสงสัยว่าบุญมาจะเป็นคนขโมย เพราะเป็นพนักงานดูแลส่วนกิจกรรมนักศึกษา และเข้าออกได้ตลอดเวลา พอดีกับไวยกรณ์เคยเห็นบุญมาไปหาเพื่อนที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทั้งหมดจึงพากันไปทวงเงินคืน และเกิดเรื่องวุ่นๆขึ้นตามระเบียบ

เมื่อจับตัวบุญมาได้ จึงได้ทราบว่าบุญมาต้องการเงินเพื่อจะไปจุนเจือครอบครัว ซึ่งไม่มีเงินจ่ายใช้หนี้จนไม่มีบ้านอยู่ บุญมาขอโทษทุกคนอย่างสำนึกผิด และกล่าวว่าตนไม่ได้ต้องการจะเป็นขโมย แต่ไม่มีหนทางจะช่วยเหลือครอบครัวได้อีก ทุกคนให้อภัย แต่บุญมาก็ต้องรับโทษติดคุกตามกฏหมาย อย่างไรก็ตาม บุญชูและโมรี รวมทั้งผองเพื่อนก็คอยมาเยี่ยมบุญมาที่ห้องขังเป็นประจำ

หลังจากการสอบเอนทรานซ์เสร็จสิ้น ทุกคนต่างเฝ้ารอผลการสอบร่วมกับบุญชูอย่างใจจดใจจ่อ สุดท้ายบุญชูก็สอบไม่ติด จึงเดินทางกลับบ้านพร้อมกับแม่ และตั้งใจจะช่วยแม่ทำนาตามที่เคยคิดไว้ หลังจากที่บุญชูเดินทางกลับไปแล้ว ก็ได้มีโทรเลขจากมหาวิทยาลัยส่งมาถึง บอกว่าบุญชูสอบติดอันดับสำรอง ซึ่งมีคนสละสิทธิ์ไป ทำให้บุญชูจะได้เป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ดังหวัง ทั้งหมดจึงเดินทางไปหาบุญชูเพื่อตามกลับมาอยู่ที่กรุงเทพเหมือนเดิม


บุญชู 5 เนื้อหอม

รูปภาพ

บุญชู 5 เนื้อหอม หรือ บุญชู ภาค 5 เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2532 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ปรารถนา สัชฌุกร วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ กฤษณ์ ศุกระมงคล อรุณ ภาวิไล เกรียงไกร อมาตยกุล ชาญณรงค์ ขันทีท้าว เกรียงไกร อุณหะนันท์ สมรัชนี เกษร โดยที่เรื่องนี้เป็นการนำบุญชู 3 ,บุญชู 4 และ บุญชู 5 รวมกันเป็นภาคเดียว กล่าวคือ บุญชู 3 มีชื่อตอนว่า จำจากแม่ ,บุญชู 4 มีชื่อตอนว่า ปีหนึ่ง และบุญชู 5 มีชื่อตอนว่า เนื้อหอม ส่วนความยาวของเนื้อหาบุญชู 3 และบุญชู 4 รวมกันไม่เกิน 12 นาที ก่อนจะเข้าสู่บุญชู 5

บุญชู 3 จำจากแม่

ชาวบ้านอำเภอบ้านโค่ง จังหวัดสุพรรณบุรี พากันเฉลิมฉลองให้กับบุญชูซึ่งสอบติดมหาวิทยาลัยเป็นคนแรกของอำเภอ โดยร่วมกันเดินขบวนไปส่งยังท่ารถสองแถว ก่อนจะขึ้นรถแม่ของบุญชูได้ฝากฝังให้ตั้งใจเรียน อย่าออกนอกลู่นอกทาง แต่สั่งสอนนานไปหน่อยจนรถสองแถวออกจากท่าไปแล้ว ทั้งคู่จึงเดินกลับบ้านเพื่อรอรถเที่ยวถัดไป โดยแก้ตัวกับคนที่เจอว่า รถเต็มแล้ว ไปไม่ได้ (บุญชู 3 มีความยาว 4 นาทีครึ่ง)

บุญชู 4 ปีหนึ่ง

ไวยกรณ์พาบุญชูเที่ยวชมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสอนบุญชูว่าอย่าทำอะไรเปิ่นๆจนเกิดเรื่อง แต่ระหว่างที่จอดจักรยานบริเวณที่จอดนั้น บุญชูเกิดทำจักรยานล้มไปชนจักรยานคันอื่น ทำให้จักรยานล้มต่อกันไปเป็นแถวยาว ไวยกรณ์และบุญชูจึงรีบขี่จักรยานหนีออกมา (บุญชู 4 มีความยาวเพียง 1 นาทีเท่านั้น)


บุญชู 5 เนื้อหอม

บุญชูเข้าเรียนในคณะเกษตรได้ 3 ปีแล้ว ด้วยความเป็นคนซื่อนิสัยดี เจ้าคารม และสำเนียงเหน่อแบบสุพรรณที่เป็นเอกลักษณ์ ทำให้บุญชูเป็นที่รู้จักของเพื่อนๆทั้งในและนอกคณะ บุญชูได้พบน้องปีหนึ่งชื่ออำภาวรรณ ซึ่งมีปัญหาเรื่องการเงิน เนื่องจากหลักฐานทางฐานะบ่งบอกว่าเป็นคนมีเงิน แต่อันที่จริงทางบ้านมีปัญหาเรื่องทรัพย์สินอยู่ ทำให้อำภาวรรณไม่ได้รับทุนการศึกษาจากบริษัทที่คอยสนับสนุนอยู่ ตรงกันข้าม ทุนกลับไปอยู่ที่สายันห์ (ซานโต๊ส กลิ่นสี) ซึ่งนำทุนที่ได้ไปเลี้ยงเหล้าเบียร์เพื่อนๆ เมื่อการเข้าพบอาจารย์ที่รับผิดชอบเรื่องทุนการศึกษาไม่เป็นผลสำเร็จ บุญชูจึงตัดสินใจลงสมัครเลือกตั้งเป็นประธานนิสิต โดยต้องแข่งกับเพื่อนสนิทอีกสองคนคือเรวัติ และ จันทร์เพ็ญ (ชาญณรงค์ ขันทีท้าว) โดยมีเพื่อนๆชาวก๊วนคอยช่วยเหลือ

บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย

รูปภาพ

บุญชู 6 โลกนี้ดีออก สุดสวย น่ารักน่าอยู่ ถ้าหงุ่ย หรือ บุญชู ภาค 6 เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2534 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ปรารถนา สัชฌุกร วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ กฤษณ์ ศุกระมงคล อรุณ ภาวิไล เกรียงไกร อมาตยกุล จักรกฤษณ์ อำมะรัตน์ รัญญา ศิยานนท์

ทองดีเป็นลูกพี่ลูกน้องของบุญชู สอบติดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และเข้ามาอยู่ร่วมกับบุญชูที่กรุงเทพฯ ทองดี เป็นคนซื่อๆเหมือนบุญชู เข้ากับเพื่อนของบุญชูได้ดี ี่มานีพี่สาวของโมรี ต้องการหานายแบบมาถ่ายโฆษณาให้กับลูกค้า โดยโมรี เสนอบุญชูให้มากองถ่ายภาพนิ่ง งานนี้มีลลิตาสาวพราวเสน่ห์เข้ามาร่วมด้วย โดยได้ไปถ่ายทำกันบน ดอยภาคเหนือ หลังจากงานเสร็จไปด้วยดี บุญชูมาที่บริษัท เห็นดอกไม้และการ์ดส่งให้โมร๊ ลลิตาเห็นเข้าจึงเกิดความคิดขึ้นไปซื้อการ์ดส่งให้เพื่อนๆของบุญชูรวมทั้งทองดีด้วย ทุกคนคิดว่าลลิตามีใจให้แต่เมื่อบุญชูรู้ จึงบอกความจริงให้ทุกคนรู้ แต่ทองดียังคิดว่าลลิตายังชอบตัวเองอยู่ จนไม่เป็นอันเรียนหนังสือ เมื่อบุญชูเรียนจบบุญชูต้องการที่ทำงานที่บ้านเกิดแต่โมร๊ต้องการงานอยู่กรุงเทพฯ บุญชูเลยลังเลแต่ก็ตัดสินใจ กลับบ้านเกิดส่วนโมรีอยู่ที่กรุงเทพฯ เพื่อนๆและโมรีมาหาบุญชูที่สุพรรณพร้อมบอกว่านายฝรั่งต้องการให้บุญชูร่วมงานถ่ายแบบอีกครั้ง ลลิตามาหาทองดีและหลอกให้ทองดีโกหกบุญชูให้ไปพบก่อนวันนัด 1 วัน เมื่อถึงที่ทำงานลลิตาหลอกว่าโมรียังไม่มาให้บุญชูเซ็นสัญญาก่อน ในขณะที่บุญชูกำลังมาหาลลิตา หยอยและเพื่อนๆไปหาบุญชูที่สุพรรณจึงได้รู้ความจริงและรีบกลับกรุงเทพฯมาหาบุญชูแต่ช้าไปเสียแล้ว บุญชูได้เซ็นสัญญาไปเรียบร้อย ทุกคนแย่งสัญญาคืนจากลลิตา ลลิตาขับรถหนีไปแต่ ทองดียืนขวางไว้ เธอจึงยอมคืนให้ จากนั้นก็กลับบ้านกัน


บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ

รูปภาพ

บุญชู 7 รักเธอคนเดียวตลอดกาลใครอย่าแตะ หรือ บุญชู ภาค 7 เป็นภาพยนตร์ไทยกำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายในปี พ.ศ. 2536 นำแสดงโดย นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ปรารถนา สัชฌุกร วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ นฤพนธ์ ไชยยศ กฤษณ์ ศุกระมงคล อรุณ ภาวิไล เกรียงไกร อมาตยกุล โมนิก้า แม็คคลอรี่ย์ สจ๊วต แม็คเฟอร์สัน สมบัติ เมทะนี


บุญชูจบมหาวิทยาลัย ไปเป็นพ่อค้าข้าวที่บ้าน จ. สุพรรณบุรี โดยแม่บุญล้อมได้ยกบ้านริมน้ำให้เป็นเรือนหอกับโมรี แต่มานีพี่สาวของโมรีไม่ตกลงโดยยื่นคำขาดให้กำจัดน้ำเสียในคลองที่เน่าเสีย ให้เป็นน้ำสะอาด ซึ่งสาเหตุใหญ่เกิดจากตลาดบกและตลาดน้ำที่มีนักท่องเที่ยวมาซื้อของ พ่อค้าแม่ค้า ก็เทของทิ้งลงแม่น้ำ ทำให้เกิดน้ำเสีย บุญชูและเพื่อนจึงช่วยกันรณรงค์และช่วยกันขอความร่วมมือจากเหล่าพ่อค้าและแม่ค้า การรณรงค์ประสบผลสำเร็จ มานีเห็นใจในความพยายาม จึงตัดสินใจให้โมลีแต่งงานกับบุญชู บ้านริมน้ำหลังนั้นส่วนพี่ช่วยได้เช่าห้องเช่าคูหาหนึ่งจากอาเที่ยง(สมจินต์ ธรรมทัต)แต่ก็ทะเลาะกับเจ้าของตลาดมาเรื่อยๆจนเรื่องราวยุติลงด้วยดี


บุญชู 8 เพื่อเธอ

รูปภาพ

บุญชู 8 เพื่อเธอ หรือ บุญชู ภาค 8 เป็นภาพยนตร์ไทย กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ออกฉายเมื่อปี พ.ศ. 2538 นำแสดงโดย สันติสุข พรหมศิริ จินตหรา สุขพัฒน์ สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ปรารถนา สัชฌุกร วัชระ ปานเอี่ยม เกียรติ กิจเจริญ นฤพนธ์ ไชยยศ กฤษณ์ ศุกระมงคล อรุณ ภาวิไล เกรียงไกร อมาตยกุล จารุณี สุขสวัสดิ์


นักแสดงนำจากภาพยนตร์เรื่องบุญชู 8 เพื่อเธอชีวิตของบุญชูที่ผ่านมา ตังแต่สมัยเรียนจบจบการศึกษาโดยได้รับการช่วยเหลือจากเพื่อนๆที่มีน้ำใจ สุดท้ายก็ได้แต่งงานกับโมลี และชีวิตคู่ได้ผ่านมาร่วม 2 ปี ในที่สุดพรรคพวกก็ได้เฮฮากันอีกครั้ง โดยนัดกันบุกเมืองสุพรรณ เพื่อแสดงความยินดี กับ?บุญชู จเนียร์? แต่เหตุการณ์ดีกลับกลายเป็นข่าวร้าย ในวันที่ทุกคนพร้อมหน้าพร้อมตากัน เป็นจังหวะเดียวที่ตลาดบ้านโข้งเกิดการโกลาหล ตำรวจไล่จับโจร(นัย สุขสกุล) และเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันคือ โมลีถูกกระสุนลูกหลงเข้าเต็มเปาที่กลางหลังเพื่อนทุกคนต่างบนบาลศาลกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ เพื่อช่วยโมลี ในที่สุดเพื่อนๆ และบุญชูก็ต้องเดินสายแก้บน ที่ทุกคนบนบาลไว้ต่างๆนาๆ กลับกลายเป็นการแก้บนที่อลเวงแบบสุดๆโดยไวยกรขอนอนเฝ้าห้องดับจิตที่รพ.3วัน นราไม่พูด3เดือน หยอยขอพูดดีกับพี่ปอง 3เดือนเฉื่อยขอปล่อยนกเพนกวินกับปลาวาฬ บุญชูขอว่ายน้ำจากหลังรพ.ถึงบ้าน คำมูลขอกินอาหารเจ3เดือน บุญช่วยและมานรำแก้บนคู่ถวายหลวงพ่ออู่ทอง แต่ปรากฏว่านายรายณ์บรรทมโจรลักขโมยพระได้ขโมยหลวงพ่ออู่ทองไปพวกบุญชูจึงตามล่านำพระกลับคืนมาได้สำเร็จ

บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู

รูปภาพ

บุญชู ไอ-เลิฟ-สระ-อู หรือ บุญชู 9 เป็นภาพยนตร์ไทยออกฉายวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2551[1] ของ ค่ายไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น กำกับโดย บัณฑิต ฤทธิ์ถกล ที่ได้นักแสดงภาคเก่าอาทิ สันติสุข พรหมศิริ, จินตหรา สุขพัฒน์, ซูโม่เจี๊ยบ วัชระ ปานเอี่ยม, ซูโม่กิ๊ก เกียรติ กิจเจริญ, นฤพนธ์ ไชยยศ, กฤษณ์ ศุกระมงคล, ซูโม่ตุ๋ย อรุณ ภาวิไล, ซูโม่เอ๋ เกรียงไกร อมาตยกุล มาร่วมแสดง อีกทั้งยังได้นักแสดงหน้าใหม่มารับเป็นบทลูกๆ อย่าง อาร์ตี้-ธนฉัตร ตุลยฉัตร, สายป่าน-อภิญญา สกุลเจริญสุข, ว่าน-รัชชุ สุระจรัส, ซาร่า-นลินธารา โฮเลอร์, แก๊ปเปอร์-วรฤทธิ์ นิลกลม และ ฐา-กิตติ์ลภัส กรสุทธิ์ไรวรรณ

กลับมาเรียกเสียงฮาอีกครั้งกับ บุญชู 9 ความสนุกครั้งนี้ เกิดขึ้นที่รุ่นลูก บุญโชค (อาร์ตี้) เณรน้อยหน้าใส ใจซื่อ มองโลกในแง่ดี ลูกของ บุญชู บ้านโข้ง (สันติสุข พรหมศิริ ) ที่ผู้พ่อ หวังให้บวชจนเป็นเจ้าอาวาสโน่น แต่แม่โมลี (จินตหรา สุขพัฒน์) แอบจับสึกแถมส่งตัวเข้ากรุงเทพฯ โดยพ่อบุญชูไม่รู้ เดือดร้อนเพื่อนพ้องของบุญชู อย่าง ไวยกรณ์ (วัชระ ปานเอี่ยม) หยอย (เกียรติ กิจเจริญ) คำมูล (กฤษณ์ ศุกระมงคล) เฉื่อย (ดร. นฤพนธ์ ไชยยศ) นรา (อรุณ ภาวิไล) ประพันธ์ (เกรียงไกร อมาตยกุล) เลยต้องสั่งให้ ลูกๆ อย่าง นิ้ง (สายป่าน อภิญญา สกุลเจริญสุข) แอ่น (ซาร่า AF3) หยอน (ว่าน รัชชุ สุระจรัส) ปพาฬ (แก๊ปเปอร์ วรฤทธ์ นิลกลม) มาดูแลบุญโชค

เรื่องราวชุลมุน วุ่นวายเรียกเสียงฮา เริ่มขึ้น เมื่อบุญโชค เข้ากรุงเทพฯ ก็เจอดี โดนเด็กเร่ร่อนกระเต็นและกระแต แอบเอายาใส่จนมึน จับไปลอกคราบเสียหมดตัว ซึ่งมี พิม (กิตติ์ลภัส กรสุทธิ์ไรวรรณ) เด็กสาวที่ใช้อินเตอร์เน็ต ไว้หลอกล่อผู้ชายมาปอกลอก เพื่อเป็นทุนเรียนหนังสือ และเป็นผู้ดูแลสองพี่น้อง ณ ร้านอาหารของ ปอง ปากหมา (สมเกียรติ คุณานิธิพงษ์) ยังคงเป็นศูนย์รวมแหล่งพบปะของทุกคน

เณรสึกใหม่จากสุพรรณ ที่มีแต่ความซื่อและจริงใจ จะทำอย่างไร กับเรื่องราวที่ไม่เคยพบเห็น ในกรุงเทพฯ

ระหว่างการสอบเข้าเอ็นทรานซ์ กับการเลือกที่จะไปช่วยเหลือคน บุญโชคเลือกสิ่งไหน..?
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 5:06 pm

ส่วนนี่เป็ฯหนังรักทีผมชอบมากครับเรื่องแรกคือเรื่องนี้ครับ
รัก-ออกแบบไม่ได้ หรือ O-Negative

รูปภาพ

รัก-ออกแบบไม่ได้ หรือ O-Negative เป็นภาพยนตร์ไทยที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2541 กำกับการแสดงโดยภิญโญ รู้ธรรม จากบทภาพยนตร์ของวาณิช จรุงกิจอนันต์ และยุทธนา มุกดาสนิท เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับ นักศึกษาคณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

เป็นเรื่องระหว่างเพื่อนกรุ๊ปเดียวกัน ปริม อาท ปืน ฝุ่น ชมพู่ ที่ต่างเริ่มต้นออกแบบความสัมพันธ์ ด้วยความตั้งใจ และความรู้สึกที่ดีต่อกัน จนวันหนึ่งที่ความรู้สึกนั้นเริ่มพัฒนาเป็นความรัก ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนสิ้นสุด เมื่อทั้งปืนและอาท ต่างรู้สึกพิเศษกับปริม ขณะที่ฝุ่นเองก็เริ่มรักปืนเกินเพื่อน จึงต้องทำให้ปริมเก็บความรู้สึกที่มีกับปืนไว้ในใจ เพื่อนถนอมความเป็นเพื่อนให้ดีที่สุด

ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 5:09 pm

หนังรักเรื่องที่สองที่ผมประทับใจที่สุดเพราะมันตรงกับชีวิตช่วงนั้น พอดีเด๊ะเลยครับ ประกอบกับนักแสดงสามารถถ่ายทอดความรู้สึกแอบรักออกมาได้เนียน+เก็บละเอียดมากในอาการของคนแอบรัก #$

รูปภาพ

รูปภาพ


2 เดือนที่แล้ว ชายหนุ่มคนหนึ่งรวบรวมความกล้าบอกรัก เพื่อนสนิท...

2 เดือนต่อมา ชายหนุ่มคนเดิมเป็นฝ่ายถูกบอกรักบ้างโดย เพื่อนสนิท ...อีกคน

ความรักของ ไข่ย้อย หนุ่มนักศึกษาศิลปะ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในเชียงใหม่ ที่เกิดขึ้นสองครั้งสองครา ..กับเพื่อนสองคน

ที่เชียงใหม่ ไข่ย้อย (ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์) คือ หนุ่มเมืองกรุงฯ จากโรงเรียนชายล้วนที่แสนขี้อาย เขาไม่กล้าคุยกับผู้หญิง พูดตะกุกตะกักทุกครั้งที่มีสาวๆ เข้ามาทัก เป็นเหตุให้ต้องคอยหลบเลี่ยงอยู่เสมอ จนกระทั่งหญิงสาวท่าทางสดใส กระฉับกระเฉงเกินมาตราฐานสาวเหนือทั่วไป เข้ามาสมัครเป็นเพื่อน เธอชื่อ ดากานดา (นุ่น - ศิรพันธ์ วัฒนจินดา) ซึ่งสำหรับไข่ย้อย ช่างเป็นชื่อที่แปลก แต่มีเสน่ห์สมตัวเจ้าของเป็นที่สุด ไข่ย้อยแอบหลงรักดากานดา แต่ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท เพราะดากานดามีคนที่เธอรักซึ่ง ไม่ใช่เขา

ที่พะงัน ไข่ย้อย คือ อาร์ติสหนุ่มจากเชียงใหม่ ที่อุตส่าห์ดั้นด้นมาเป็นคนไข้ ถึงสถานีอนามัยแห่งเดียวบนเกาะ ไข่ย้อยพลัดตกจากดาดฟ้าเรือขาหัก จากการพยายามขึ้นไปเล่นบทพระเอกมิวสิก ท่ามกลางคนแปลกถิ่นหน้าเข้ม พูดจาเร็วปรื๋อ ไข่ย้อยได้พยาบาลสาวตาโต ยิ้มเก่ง เป็นคนคอยดูแล เธอชื่อ นุ้ย (เอ๋ - มณีรัตน์ คำอ้วน) ซึ่งสำหรับไข่ย้อย รอยไมตรีที่เธอจ่ายให้เขาบ่อยกว่าจ่ายยา ทำให้เขาสมัครเป็นคนไข้ไม่มีกำหนดหายอย่างเต็มใจ

ไข่ย้อยรู้ว่านุ้ยมีใจให้เขา แต่เธอก็ไม่เคยเอ่ยปาก ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ ขยับเข้าใกล้มากที่สุดที่คำว่า เพื่อนสนิท บางทีเธอคงรู้ว่า เขามีคนที่รักซึ่ง ไม่ใช่เธอ

ความรักของคนสามคน เกิดขึ้น สองสถานที่ สองเวลา ความรักของคนคู่ใดจะก้าวพ้นคำว่า เพื่อนสนิท ความรักของไข่ย้อย จะจบลงที่ไหน ภูเขา หรือ ทะเล..


________________________________________

คุณเคยมีเพื่อนหรือเปล่า? แล้วคุณเคยมีเพื่อนรักไหม? ถ้าเปลี่ยนคำถามใหม่ว่า คุณเคยแอบรักเพื่อนหรือเปล่าล่ะ? คำตอบของคุณคืออะไร ถ้าคำตอบของคุณคือ "เคย" แสดงว่าคุณเป็นคนหนึ่ง ที่มีความสัมพันธ์ทางใจกับใครบางคน คนที่คุณเรียกเขาว่า เพื่อนสนิท คนที่คุณสร้างมิตรภาพกับเขา ด้วยรอยยิ้มในครั้งแรกที่เจอ คนที่คุณยินดีจะสร้างมิตรภาพกับเขาต่อด้วยการชวนไปกินข้าว และคนที่คุณยอมให้เขาเข้ามาจัดการอะไรบางอย่างในชีวิตคุณได้อย่างเสรี คนที่คุณรู้สึกว่าอยากเลิกใช้คำว่า เพื่อนสนิท กับเขาสักที ถ้าคุณพร้อมแล้ว.. รวบรวมความกล้า ชวนเพื่อนสนิทมาพูดความในใจซะ...
รูปภาพ
รูปภาพ
จากหนังสือสารคดีท่องเที่ยวยอดเยี่ยม กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา เจ้าของรางวัลนายอินทร์ อวอร์ด ที่หลายคนบอกว่า อบอวลด้วยกลิ่นไอรัก มากกว่าหอมกลิ่นสายลมหรือแสงแดด กว่า 1500 กิโลเมตร จากทิวเขาและไอหมอกในจังหวัดเชียงใหม่ สู่ไอน้ำเค็มของหมู่เกาะพะงัน จังหวัดสุราษฏร์ธานี กลายมาเป็นภาพยนตร์โรแมนกิ๊ก คอมมาดี้ ฝีมือกำกับฯของ เอส - คมกฤษ ตรีวิมล 1 ในผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง แฟนฉัน แล้ว เรื่องราวความรักของคนสามคน ที่เกิดขึ้นสองที่ สองเวลา แต่ความรักของคนคู่ไหน จะสามารถก้าวพ้น
เส้นแบ่งบางๆ ระหว่างคำว่าเพื่อนไปได้...

ภาพยนตร์เรื่อง เพื่อนสนิท สร้างโดย บริษัท GMM ไท HUB จำกัด อำนวยการสร้างฝ่ายบริหารโดย ไพบูลย์ ดำรงชัยธรรม, บุษบา ดาวเรือง, วิสูตร พูลวรลักษณ์, จินา โอสถศิลป์ อำนวยการสร้างโดย จิระ มะลิกุล, ยงยุทธ ทองกองทุน, ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์, เช่นชนนี สุนทรศารทูล กำกับภาพยนตร์โดย เอส - คมกฤษ ตรีวิมล บทภาพยนตร์โดย นิธิศ ณพิชญสุทิน ดัดแปลงจากหนังสือสารคดีท่องเที่ยว กล่องไปรษณีย์สีแดง ของ อภิชาติ เพชรลีลา กำกับภาพโดย ปราเมศร์ ชาญกระแส ออกแบบงานสร้างโดย รัชชานนท์ ขยันงาน กำกับศิลป์โดย ธาดร คล้ายปักษี ออกแบบเครื่องแต่งกายโดย สุธี เหมือนวาจา ลำดับภาพโดย วิชชา โกจิ๋ว

เพื่อนสนิท นำแสดงโดย ซันนี่ สุวรรณเมธานนท์ รับบท ไข่ย้อย, นุ่น - ศิรพันธ์ วัฒนจินดา รับบท ดากานดา, เอ๋ - มณีรัตน์ คำอ้วน รับบท นุ้ย ร่วมด้วย อิศ - อิศยม รัตนอุดมโชค รับบท โก้ เพื่อนเก่าที่ตามมาแสลงใจไข่ย้อยถึงเชียงใหม่, ดัมมี่ - ธนาบดินทร์ ยงสืบชาติ รับบท ฟุเหยิน เพื่อนสนิทเพศชายคู่หูคู่กัดของดากานดา, โอปอลล์ - ปาณิสรา พิมพ์ปรุ รับบท พี่แตน พี่สาวของนุ้ยที่เป็นนางพยาบาลเหมือนกัน



ที่มา :http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/newmovie/deardakanda/dakanda.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » อังคาร ก.ย. 15, 2009 5:12 pm

อันนี้หลายคนน่าจะเคยดูแล้วนะครับ แต่ถ้าใครยังไม่เคยแนะนำว่าไมควรพลาดด้วยประการทั้งปวงครับ...

รูปภาพ

รูปภาพ

?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? เป็นภาพยนตร์ที่สร้างมาจากความเชื่อ ของชาวท้องถิ่นในแถบอีสาน เกี่ยวกับปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ซึ่งเป็นการเรียกขานลูกไฟประหลาดสีชมพูจำนวนมาก ที่พวยพุ่งขึ้นจากลำน้ำโขง ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น ?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? ของทุกปี โดยลูกไฟนั้นไม่มีกลิ่น ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นสูงประมาณ 20-30 เมตร แล้วก็หายไป โดยไม่มีการโค้งลงมา เช่นเดียวกับไฟที่เกิดจากพลุทั่วไป และเกิดขึ้นเป็นจำนวนไม่แน่นอน ในท้องที่อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย

ผู้เฒ่าผู้แก่ที่อาศัยอยู่ริมน้ำโขง ได้รับการบอกเล่าสืบทอดต่อๆ กันมาว่า ลูกไฟเหล่านี้คือ "บั้งไฟพญานาค" ที่พญานาคสร้างขึ้น เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา แด่องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ในคืนวันออกพรรษา ซึ่งตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี และจะมีผู้คนจำนวนมาก แห่แหนมานั่งชมปรากฏการณ์ ที่มหัศจรรย์ดังกล่าว ปรากฏการณ์นี้ ก่อให้เกิดมีคำถามตามมามากมายว่า บั้งไฟพญานาคเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมจึงเกิดขึ้นเฉพาะในวันออกพรรษา และเฉพาะบริเวณลุ่มแม่น้ำโขง จังหวัดหนองคาย มีหลายทฤษฎีกล่าวถึงเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีทางด้านวิทยาศาสตร์ ทฤษฎีที่บอกว่า อาจจะมีใครบางคนไปสร้างขึ้น เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว และความเชื่อของชาวอีสาน เกี่ยวกับพญานาค...


--------------------------------------------------------------------------------

?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? เรื่องราวของบั้งไฟพญานาค มหัศจรรย์แห่งลุ่มแม่น้ำโขง ที่เกิดขึ้นกับชีวิตคนไทยในอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย ที่อยู่ห่างไกลจากกรุงเทพไปกว่าแปดชั่วโมง แต่ที่แห่งนี้ กลับมีสิ่งเร้นลับมหัศจรรย์ ที่เกิดขึ้นตรงกันทุกปี ในคืนวันออกพรรษา บั้งไฟพญานาค ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ กลายเป็นเรื่องที่โด่งดังไปทั่วโลก และยังไม่สามารถที่จะพิสูจน์ได้ว่า บั้งไฟพญานาค เกิดขึ้นจากน้ำมือของมนุษย์? เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ? หรือเป็นพุทธบูชาของพญานาค จริงตามความเชื่อ และ ศรัทธาของชาวอีสาน? ยังคงเป็นปริศนาที่ท้าทาย และรอคอยการพิสูจน์มาจนทุกวันนี้

จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส ร่วมกับ หับโห้หิ้น ฟิล์ม ภูมิใจเสนอ ภาพยนตร์เรื่อง ?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? มหัศจรรย์แห่งภาพยนตร์ไทย จากฝีมือการกำกับฯ ของผู้กำกับหนุ่ม เก้ง - จิระ มะลิกุล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างดี ผลงานที่ผ่านมา มีทั้งงานด้านกำกับภาพยนตร์โฆษณา และกำกับมิวสิควิดีโอ โดยก่อนจะมาทำงานในเรื่องนี้ เขาได้มีส่วนร่วมเขียนบทกับ สิน - ยงยุทธ ทองกองทุน ในภาพยนตร์เรื่อง สตรีเหล็ก

รูปภาพ

จิระ มะลิกุล ผู้กำกับหนุ่ม อ่านพบเรื่องนี้ จากหนังสือศิลปวัฒนธรรม เมื่อปี 2538 ข้อถกเถียงและทฤษฎีที่ถูกยกมากล่าวอ้าง สร้างความฉงนสนเท่ห์ ชวนให้ติดตามยิ่งนัก และเขาเริ่มค้นคว้าหาข้อมูล จากหนังสือเป็นลังๆ นำเรื่องราวทั้งหมดมาประมวล พร้อมเดินทางไปดูบั้งไฟพญานาคให้เห็นกับตา เดินย่ำรอยเท้าไปทั่วบริเวณริมน้ำโขง พูดคุยกับชาวบ้าน และกลับมาศึกษาค้นคว้าถึงเรื่องนี้ อย่างจริงจังอีกครั้ง เข้าพิพิธภัณฑ์ ค้นคว้าต่อเติม รวบรวมข้อมูลทั้งหมด บวกจินตนาการในสิ่งที่อยากจะให้เป็นภาพ โดยใช้เวลานานกว่าแปดเดือนใ นการเขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้ เมื่อบทเขียนเสร็จ เขานำบทปึกใหญ่มาให้ ยงยุทธ ทองกองทุน และ ประเสริฐ วิวัฒนานนท์พงษ์ ผู้ที่เป็นทั้งเพื่อนร่วมสถาบัน และร่วมก่อตั้งบริษัท หับโห้หิ้น ฟิล์ม

รูปภาพ

หลังอ่านบทจบ ทั้งสิน และ เสริฐ รู้สึกได้ว่าเป็นบทที่ดีมาก และเมื่อบทดี การนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์ ก็ยากที่จะออกมาไม่ดี สองโปรดิวเซอร์คู่หู ยงยุทธ และ ประเสริฐ ก็ตัดสินใจว่า ?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? น่าจะเป็นหนังที่ หับโห้หิ้น ฟิล์ม เลือกเป็นหนังเปิดตัวกับ จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส เป็นเรื่องแรก และเมื่อได้รับอนุมัติจากทาง จีเอ็มเอ็ม พิคเจอร์ส อย่างเป็นทางการ การทำงานก็เริ่มขึ้น

รูปภาพ

การคัดเลือกนักแสดงนั้น ทีมงานเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ และจังหวัดในภาคอีสานอยู่นานกว่าจะลงตัว ทีมงานสร้างเลือกใช้นักแสดงหน้าใหม่ ที่ยังไม่เคยผ่านงานแสดงภาพยนตร์มาเป็นดารานำ นักแสดงที่มีบทสำคัญเป็นตัวเดินเรื่อง ได้แก่ โอ - อนุชิต สพันธุ์พงษ์ มาในบท คาน เด็กวัดผู้กุมความลับในการสร้างบั้งไฟ ที่ทำหน้าที่ดำน้ำลงไปวางบั้งไฟ เก้ง - จิระ เห็นแววของเขา มาจากภาพยนตร์โฆษณาของโค้ก ส่วน ตี้ - ธิดารัตน์ เจริญชัยชนะ อดีตผู้ประกาศข่าวสีสันบันเทิงทางช่อง 3 แม้จะเป็นที่คุ้นเคย ของใครๆ จากหน้าจอโทรทัศน์ แต่ภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็เป็นเรื่องแรก ในชีวิตการแสดงของเธอ ที่ต้องมารับบทครูอลิศ ด้าน เปี๊ยก - บุญชัย ลิ่มอติบูลย์ ที่กว่าจะได้ตัวมาต้องใช้เวลาไม่น้อย เพราะหนุ่มคนนี้ มีหน้าที่การงานหลักฐานมั่นคง และไม่เคยคิดอยากจะเป็นดารา มารับบทหมอนรติ ผู้เฝ้ารวบรวมทฤษฎี เพื่อยืนยันความเชื่อของตัวเองว่า ลูกไฟนั้นเกิดขึ้น เกิดจากการหมักหมมของซากพืชซากสัตว์ ร่วมด้วยตัวแสดงที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่อง

นักแสดงสมทบยังมี นพดล ดวงพร เจ้าของวงดนตรี เพชร พิณทอง ที่ลือลั่นในภาคอีสาน มารับบทหลวงพ่อโล่ห์ ผู้ที่มีความผูกพันกับพญานาค และบั้งไฟพญานาคในวันออกพรรษา สุรสีห์ ผาธรรม อดีต ผู้กำกับใหญ่ที่ตื่นเต้นยินดีปรีดา เมื่อมีคนคิดตรงกับเขา ในการนำเรื่องบั้งไฟพญานาค มาสร้างเป็นภาพยนตร์ มาในบทครูใหญ่ ผู้ที่ไม่อยากรู้เลยว่า บั้งไฟพญานาคเกิดจากอะไร, สิงห์คาน นันกวน หมอลำ คณะเพชร พิณทอง มารับบท พระยอดสน ผู้ที่คอยไปรับส่ง และดูแลคานกับหลวงพ่อ เป็นหนึ่งในคนทำบั้งไฟพญานาค

นอกเหนือจากนี้ เก้ง - จิระ ยังได้ชักชวนเพื่อนฝูง ที่เคยทำงานร่วมกันมาอย่าง ชนินทร์ (โปสาภิวัฒน์) นินจา มารับบท ดร.กริช นักประหลาดวิทยา ที่เดินทางไปทั่วเพื่อพิสูจน์ว่า พญานาคนั้นมีจริงหรือไม่, สมชาย ศักดิกุล นักดนตรีอารมณ์ดี มารับบท ดร.สุรพล ผู้คัดค้านทฤษฎีของหมอนรติในทุกกรณี นอกจากนี้ ยังได้ความร่วมมือจากชาวบ้านอำเภอโพนพิสัย มาร่วมเข้าฉากเป็นดาราจำเป็น ด้วยความยินดีและมีน้ำใจ

?๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑? ยังได้ เอก เอี่ยมชื่น ผู้ฝากผลงานไว้ในฐานะโปรดั๊กชั่นดีไซน์ ในภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จ อย่างมากมายอย่าง จันดารา, ฟ้าทะลายโจร, นางนาก มาร่วมทำงานคุมภาพ, ฉาก และงานด้านโปรดั๊กชั่น ที่ปรากฏเป็นภาพในเรื่องนี้

การทำงานเรื่องนี้ ในส่วนของทีมงานสร้าง ประกอบด้วย สมบูรณ์ พิริยะภักดีกุล ผู้กำกับภาพและช่างภาพ, ปาน บุษบรรณ ลำดับภาพ, มนตรี วัดละเอียด ช่างแต่งหน้าเอฟเฟ็ค, ธิฐิพล แฝงสีคำ ช่างแต่งหน้า, เอกศิษฐ์ มีประเสริฐกุล ออกแบบเครื่องแต่งกาย



ที่มา : http://www.pantip.com/cafe/chalermthai/ ... on/15.html
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย ประชานิยม » พุธ ก.ย. 16, 2009 4:13 pm

haru เขียน:

รูปภาพ

รูปภาพ




ของเค้าดีจริงๆครับ !) เรื่องนี้ คนทำหนังรวยไม่พอ

พาผมมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
#$ #$

หนังฝรั่งขอแนะนำเรื่อง The Usual Suspects ปี 1995

หนังเล็ก เนื้อเรื่องโคตรเท่ 2รางวัล ออสการ์ !) !)
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชานิยม
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ย. 09, 2009 6:00 pm

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » พุธ ก.ย. 16, 2009 10:25 pm

ขอขยายข้างบนนะครับ

The Usual Suspects


รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย PAO » พุธ ก.ย. 16, 2009 11:19 pm

The Usual Suspects
ตอนที่มันเดินตอนจบ ผมร้องเฮ้ย!! เลย !) !) !)

อีกเรื่องที่ให้อารมณ์คล้ายกัน Primal Fear ริชาร์ด เกียร์ เล่นกับเอ็ดเวิร์ด นอร์ตัน ที่เล่นเรื่องนี้ได้เกิดสุดๆ !)
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
PAO
Administrator
Administrator
 
โพสต์: 3990
ลงทะเบียนเมื่อ: จันทร์ ก.ย. 07, 2009 12:06 am
ที่อยู่: 66 ถนนฉลองกรุง แขวงลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กทม 10520

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย redart » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 11:31 am

ส่วนผมเรื่องนี้ครับโดยเฉพาะเพลงประกอบ ^+ ^+
รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย redart เมื่อ ศุกร์ ก.ย. 18, 2009 10:38 am, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
redart
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 374
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ย. 09, 2009 8:53 am
ที่อยู่: สารคาม...ทำงานขอนแก่น

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 12:45 pm

ส่วนผมขอแนะนำสองเรื่องนี้ครับ ฉากหลังของทั้งสองเรื่องคือสงครามทั้งคู่ แต่ดูแล้วช่วยสร้างความหวังมากมายครับ....
เรื่องแรก The Pianist
รูปภาพ
เรื่องที่สอง Life is Beautiful
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 12:56 pm

ส่วนหนังเพลงที่ผมชอบมาก+เพลงเพราะมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
ต้องเรื่องนี้เลยครับ


Once

รูปภาพ

ไม่เชื่อลองฟังเพลงดูครับ $! #& #&

ONCE OST.: Falling Slowly

Once OST- The Hill
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 1:07 pm

ถ้าเป็นหนังเพลงฝั่งเอเชีย ก็ต้องหนังเรื่องนี้ครับ

Perhaps Love

รูปภาพ


ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย ประชานิยม » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 5:25 pm

OST. Great Expectation

โดยเฉพาะเพลง Mono - Life in mono ฟังแล้วน้ำตาจะไหล

อีก 10 ปีเอาเพลงนี้มาเปิด ยัง "ล้ำ" อยู่เลย !) !)

เดี๋ยวว่างๆ จะเปิดกระทู้ เพลง แข่งกับกระทู้หนังบ้าง

เรื่องเพลงนี่ ผมก็พอตัวอยู่เหมือนกัน #$ #$
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
ประชานิยม
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1243
ลงทะเบียนเมื่อ: พุธ ก.ย. 09, 2009 6:00 pm

Re: หนังในดวงใจ ทั้งไทย/เทศ เข้ามาแลกเปลี่ยนกันได้นะครับ

โพสต์โดย haru » พฤหัสฯ. ก.ย. 17, 2009 10:10 pm

ประชานิยม เขียน:OST. Great Expectation

โดยเฉพาะเพลง Mono - Life in mono ฟังแล้วน้ำตาจะไหล

อีก 10 ปีเอาเพลงนี้มาเปิด ยัง "ล้ำ" อยู่เลย !) !)

เดี๋ยวว่างๆ จะเปิดกระทู้ เพลง แข่งกับกระทู้หนังบ้าง

เรื่องเพลงนี่ ผมก็พอตัวอยู่เหมือนกัน #$ #$



เอาเลยครับพี่

เด่วผมจะได้ไปโพสบอร์ดพี่ ทั้งวันเลย #( #(
ภาพประจำตัวสมาชิก
haru
THE REAL THING
THE REAL THING
 
โพสต์: 1061
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ย. 11, 2009 11:06 pm
ที่อยู่: บางขุนนนท์ บางกอกน้อย กรุงเทพฯ

ต่อไป

ย้อนกลับไปยัง GENERAL BOARD

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 6 ท่าน

cron