หน้า 1 จากทั้งหมด 2

คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 12:45 pm
โดย mykeawja
เตรียมพบกับคลิปวิดีโอ...

ที่จะเล่าเรื่องราวให้ทุกท่านได้ย้อนยุคสู่อดีต...

เมื่อครั้งประเทศไทยยังเป็นสยาม...

และที่สำคัญ...

เตรียมพบกับคลิปวิดีโอสุดยอดหายาก...

ที่ท่านไม่เคยชม ไม่เคยเห็น จากที่ใดมาก่อน!!!


#& #& #& #& #&

Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:02 pm
โดย mykeawja
ครั้งแรกในประวัติศาสตร์! เพลงสรรเสริญพระบารมีบนจานเสียงที่เก่าแก่ที่สุดในโลก

ที่คุณจะได้เห็นแผ่นเสียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ที่มีการบันทึกเสียงเก่าแก่ที่สุดบนจานเสียง และถูกสาธิตการเล่นจานเสียงจริงๆ ลงบนคลิปวิดีโอ โดยใช้เข็มเพชรหัวมนสมัยรัชกาลที่ 5 ยี่ห้อปาเต๊ะในการเล่นแผ่น!!!

เพลงเพลงสรรเสริญพระบารมีฉบับไทยเดิมที่เห็นนี้ ขับร้องโดยแม่ปุ่นและแม่แป้น และถูกขายโดยห้างรัตนมาลา ปีพ.ศ. 2450

เท่าที่สืบทราบ ปัจจุบันมีเหลือเพียงแผ่นเดียวในโลก



Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:07 pm
โดย mykeawja
เพลงไทยเพลงแรกในโลก...ที่ถูกบันทึกเสียงสำเร็จ

นั่นคือเพลง "คำหอม" บรรเลงโดยนาย บุศย์มหินทร์

ถูกบันทึกเสียงลงบนกระบอกเสียงไขขี้ผึ้งสีน้ำตาล ในปีพ.ศ. 2443 ณ ประเทศเยอรมันนี



Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:09 pm
โดย mykeawja
คุณเคยเห็นกรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ 4 แล้วหรือยัง?


Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:18 pm
โดย mykeawja
มีคนไทยจำนวนมาก...

ต่างกราบไหว้บูชาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ก็เพียงแต่บนภาพถ่ายเท่านั้น

เพราะไม่เคยเห็นพระพุทธเจ้าหลวง พระองค์ท่านบนแผ่นฟิล์มภาพยนตร์เลย

และนี่เป็นโอกาสอันเป็นมงคลยิ่งที่คนไทยทั้งมวล

จะได้เห็นพระราชกรณียกิจของพระองค์ท่านขณะเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 พ.ศ.2440 บนฟิล์มภาพยนตร์แล้วครับ






Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:21 pm
โดย mykeawja
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงประทับบนเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์


Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:25 pm
โดย mykeawja
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เสด็จวัดพระแก้ว เนื่องในพระราชพิธีเฉลิมพระนคร 150 ปี


Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:29 pm
โดย mykeawja
เพลงสรรเสริญพระบารมีที่ถูกบันทึกเสียงเก่าแก่ที่สุดในโลก


มีหลักฐานยืนยันอย่างชัดเจนว่าการบันทึกเสีียงเพลงสรรเสริญพระบารมี ฉบับบรรเลงดนตรีไทยเดิม
โดยคณะนายบุศย์มหินทร์ เมื่อครั้งรอนแรมไปยังแสดง ณ สวนสัตว์ กรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมันนี ในปี พ.ศ. 2443 ถือเป็นการบันทึกเสียงที่เก่าแก่ที่สุดในโ ลก โดยเป็นการบันทึกเสียงลงกระบอกเสียงชนิดไข ขี้ผึ้งสีน้ำตาลอ่อน (Edison - Brown blank wax cylinder) ซึ่งการบันทึกเสียงลงกระบอกเสียงไขขี้ผึ้ง (แบบเดียวกับที่ชมในคลิป) ซึ่งประดิษฐ์โดย โทมัส เอวา เอดิสัน (Thomas Alva Edison) นั้นมีมาก่อนยุคของแผ่นเสียงที่ประดิษฐ์โด ย อีมิล เบอร์ไลเนอร์

(The oldest Thai royal anthem that had been recorded on an Edison brown blank wax cylinder by Mr. Boosra Mahin and his group of musicians to perform Siamese music at Berlin Zoo, Germany in 1900. )



Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:32 pm
โดย mykeawja
เอ้า!!! เร็วเข้าหน่อยจ้า รถรางจะออกจากสถานีแล้ว

ชวนพวกเรามานั่งรถราง...ชมกรุงเทพฯ เมื่อวันวานกันเถอะ!!!



Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:39 pm
โดย mykeawja
กรุงเทพปี พ.ศ. 2475 มีเรื่องอะไรให้น่าตื่นเต้นกันบ้างน้า...!!!










Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 1:59 pm
โดย mykeawja
เพลงชาติไทยฉบับแรก พ.ศ. 2475 บนแผ่นเสียงโอเดียนตราตึก

รูปภาพ



ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้มีการใช้เพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงถวายความเคารพพระมหากษัตริย์ต่างชาติที่เสด็จเยี่ยมประเทศสยามตามธรรมเนียมสากล แม้เพลงดังกล่าวไม่ใช่เพลงชาติของประเทศสยามอย่างเป็นทางการก็ตาม แต่ก็ถืออนุโลมว่าเป็นเพลงชาติโดยพฤตินัยตามหลักดังกล่าว

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ใน พ.ศ. 2475 คณะราษฎรได้ประกาศใช้เพลงชาติมหาชัย ซึ่งประพันธ์เนื้อร้องโดย เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นเพลงชาติอยู่ 7 วัน (ใช้ชั่วคราว ระหว่างรอพระเจนดุริยางค์แต่งเพลงชาติใหม่) แต่ไม่ได้รับความนิยมจากประชาชน ต่อมาจึงได้เปลี่ยนมาเป็นเพลงชาติฉบับที่แต่งทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ เป็นเพลงชาติอย่างเป็นทางการแทนเพลงสรรเสริญพระบารมี

ที่มาของทำนองเพลงชาติปัจจุบันนั้น จากบันทึกความทรงจำของพระเจนดุริยางค์ ได้เล่าไว้ว่า ราวปลายปี พ.ศ. 2474 เพื่อนนายทหารเรือชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งของท่าน คือ หลวงนิเทศกิลกิจ (กลาง โรจนเสนา) ได้ขอให้ท่านแต่งเพลงสำหรับชาติขึ้นเพลงหนึ่ง ในลักษณะของเพลงลามาร์แซแยส ซึ่งพระเจนดุริยางค์ได้บอกปฏิเสธ เพราะถือว่าเพลงสรรเสริญพระบารมีเป็นเพลงชาติอยู่แล้ว ทั้งการจะให้แต่งเพลงนี้ก็ยังไม่ใช่คำสั่งของทางราชการด้วย แม้ภายหลังหลวงนิเทศกลกิจจะมาติดต่อให้แต่งเพลงนี้อีกหลายครั้งก็ตาม พระเจนดุริยางค์ก็หาทางบ่ายเบี่ยงมาตลอด เพราะท่านสงสัยว่าการขอร้องให้แต่งเพลงนี้เกี่ยวข้องกับการเมือง ประกอบกับในเวลานั้นก็มีข่าวลือเรื่องการปฏิวัติอย่างหนาหูด้วย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ผ่านไปได้ประมาณ 5 วันแล้ว หลวงนิเทศกลกิจ ซึ่งพระเจนดุริยางค์รู้ภายหลังว่าเป็น 1 ในสมาชิกคณะราษฎรด้วย ได้กลับมาขอร้องให้ท่านช่วยแต่งเพลงชาติอีกครั้ง โดยอ้างว่าเป็นความต้องการของคณะผู้ก่อการ ท่านเห็นว่าคราวนี้หมดทางที่จะบ่ายเบี่ยง เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองในเวลานั้นอยู่ในระยะหัวเลี้ยวหัวต่อ จึงขอเวลาในการแต่งเพลงนี้ 7 วัน และแต่งสำเร็จในวันจันทร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายที่ตนได้กำหนดนัดหมายวันแต่งเพลงชาติไว้ ขณะที่นั่งบนรถรางสายบางขุนพรหม-ท่าเตียน เพื่อไปปฏิบัติราชการที่สวนมิสกวัน จากนั้นจึงได้เรียบเรียงเสียงประสานสำหรับให้วงดุริยางค์ทหารเรือบรรเลง และมอบโน้ตเพลงนี้ให้หลวงนิเทศกลกิจนำไปบรรเลง ในการบรรเลงตนตรีประจำสัปดาห์ที่พระที่นั่งอนันตสมาคมในวันพฤหัสบดีถัดมา พร้อมทั้งกำชับว่าให้ปิดบังชื่อผู้แต่งเพลงเอาไว้ด้วย

อย่างไรก็ตาม หนังสือพิมพ์ศรีกรุงก็ได้ลงข่าวเรื่องการประพันธ์เพลงชาติใหม่โดยเปิดเผยว่า พระเจนดุริยางค์เป็นผู้แต่งทำนองเพลงนี้ ทำให้พระเจนดุริยางค์ถูกเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ เสนาบดีกระทรวงวัง ตำหนิอย่างรุนแรงในเรื่องนี้ แม้ภายหลังพระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรี จะได้ชี้แจงว่าท่านและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นผู้คิดการแต่งเพลงนี้ และเพลงนี้ก็ยังไม่ได้รับรองว่าเป็นเพลงชาติเนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการทดลองก็ตาม แต่พระเจนดุริยางค์ก็ได้รับคำสั่งปลดจากทางราชการให้รับเบี้ยบำนาญ ฐานรับราชการครบ 30 ปี และหักเงินเดือนครึ่งหนึ่งเป็นบำนาญ อีกครึ่งที่เหลือเป็นเงินเดือน โดยให้รับราชการต่อไปในอัตราเงินเดือนใหม่นี้ ในเดือนตุลาคมปีเดียวกันนั้นเอง

ส่วนเนื้อร้องของเพลงชาตินั้น คณะผู้ก่อการได้ทาบทามให้ขุนวิจิตรมาตรา (สง่า กาญจนาคพันธ์) เป็นผู้ประพันธ์ โดยคำร้องที่แต่ขึ้นนั้นมีความยาว 2 บท สันนิษฐานว่าเสร็จอย่างช้าก่อนวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2475 เนื่องจากมีการคันพบโน้ตเพลงพร้อมเนื้อร้องซึ่งตีพิมพ์โดยโรงพิมพ์ศรีกรุง ซึ่งลงวันที่ตีพิมพ์ในวันดังกล่าว แม้เพลงนี้จะเป็นเพลงที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไปก็ตาม แต่เพลงนี้ก็ยังไม่ได้มีการประกาศอย่างเป็นทางการว่าเป็นเพลงชาติ และมีการจดจำต่อๆ กันไปเรื่อยๆ โดยไม่มีใครรู้ที่มาชัดเจน ดังปรากฏว่า มีการคัดลอกเนื้อเพลงชาติของขุนวิจิตรมาตราส่งเข้าประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ เมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอ้างว่าตนเองเป็นผู้แต่งด้วย

เนื้อร้องที่ขุนวิจิตรมาตราประพันธ์เริ่มแรกสุด ก่อนที่จะมีการแก้ไขเมื่อมีการประกวดเนื้อเพลงชาติฉบับราชการ ใน พ.ศ. 2476

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบชาติไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
ร่วมรักษาเอกราษฎร์ชนชาติไทย
บางสมัยศัตรูจู่มารบ
ไทยสมทบสวนทัพเข้าขับไล่
ตะลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา

อันดินแดนสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือกระดูกที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
ยึดอำนาจกุมสิทธิ์อิสสระเสรี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทิดชัยไชโย

Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 2:01 pm
โดย mykeawja
เพลงชาติสยามฉบับราชการ พ.ศ. 2477

รูปภาพ



ในปี พ.ศ. 2477 รัฐบาลได้จัดประกวดเนื้อร้องเพลงชาติใหม่ ผลปรากฏว่าเนื้อร้องของขุนวิจิตรมาตรายังคงได้รับการรับรองให้ใช้อีกต่อไป แต่มีการเพิ่มเนื้อร้องของนายฉันท์ ขำวิไล เข้าต่อท้ายอีก 2 บท (แต่ละบทมีความยาว 8 วรรค)

ทำให้เนื้อร้องเพลงชาติยาวมาก เพราะเนื้อร้องของเดิมของขุนวิจิตรมาตรามีความยาวถึง 2 บท (16 วรรค) อยู่แล้ว เมื่อรวมกับเนื้อร้องของนายฉันท์ด้วยแล้ว เนื้อร้องเพลงชาติทั้งหมดจะมีความยาวถึง 32 วรรค

หากจะร้องเพลงชาติให้ครบทั้งสี่บทจะต้องใช้เวลาร้องถึง 3 นาที 52 วินาที (เฉลี่ยแต่ละท่อนรวมดนตรีนำด้วยทั้งเพลงตกที่ท่อนละ 35 วินาที)

ในสมัยนั้นคนไทยส่วนใหญ่จึงนิยมร้องแต่เฉพาะบทร้องของขุนวิจิตรมาตรา และต่อมาภายหลังจึงไม่มีการขับร้อง คงเหลือแต่เพียงทำนองเพลงบรรเลงเท่านั้น

ลองดูเนื้อและฟังจากคลิปตามนะครับ

ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)
คำร้อง: ขุนวิจิตรมาตรา
(บทที่ 1 และบทที่ 2)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2475
แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2477 ทำนอง: พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยะกร)

คำร้อง: ฉันท์ ขำวิไล
(บทที่ 3 และบทที่ 4)
แต่งเมื่อ พ.ศ. 2477
ประกาศใช้เพิ่มเติมจากเนื้อร้องเดิมในปีเดียวกัน

แผ่นดินสยามนามประเทืองว่าเมืองทอง
ไทยเข้าครองตั้งประเทศเขตต์แดนสง่า
สืบเผ่าไทยดึกดำบรรพ์โบราณลงมา
รวมรักษาสามัคคีทวีไทย
บางสมัยศัตรูจู่โจมตี
ไทยพลีชีพร่วมรวมรุกไล่
เข้าลุยเลือดหมายมุ่งผดุงผะไท
สยามสมัยบุราณรอดตลอดมา
อันดินสยามคือว่าเนื้อของเชื้อไทย
น้ำรินไหลคือว่าเลือดของเชื้อข้า
เอกราษฎร์คือเจดีย์ที่เราบูชา
เราจะสามัคคีร่วมมีใจ
รักษาชาติประเทศเอกราชจงดี
ใครย่ำยีเราจะไม่ละให้
เอาเลือดล้างให้สิ้นแผ่นดินของไทย
สถาปนาสยามให้เทอดไทยไชโย เหล่าเราทั้งหลายขอน้อมกายถวายชีวิต
รักษาสิทธิ์อิสระ ณ แดนสยาม
ที่พ่อแม่สู้ยอมม้วยด้วยพยายาม
ปราบเสี้ยนหนามให้พินาศสืบชาติมา
แม้ถึงภัยไทยด้อยจนย่อยยับ
ยังกู้กลับคงคืนได้ชื่นหน้า
ควรแก่นามงามสุดอยุธยา
นั้นมิใช่ว่าจะขัดสนหมดคนดี
เหล่าเราทั้งหลายเลือดและเนื้อเชื้อชาติไทย
มิให้ใครเข้าเหยียบย่ำขยำขยี้
ประคับประคองป้องสิทธิ์อิสรเสรี
เมื่อภัยมีช่วยกันจนวันตาย
จะสิ้นชีพไว้ชื่อให้ลือลั่น
ว่าไทยมั่นรักชาติไม่ขาดสาย
มีไมตรีดียิ่งทั้งหญิงทั้งชาย
สยามมิวายผู้มุ่งหมายเชิดชัยไชโย

Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 12, 2009 6:04 pm
โดย mykeawja
ช้าง...ภาพยนตร์ที่คนไทย ต้องดู!!!

Chang: A Drama of the Wilderness


ช้าง หรือ Chang: A Drama of the Wilderness เป็นภาพยนตร์สารคดี เรื่องแรกที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย โดยบริษัท พาราเมาท์ กำกับโดย มีเรียน ซี. คูเปอร์ เมื่อ พ.ศ. 2468 ใช้เวลาถ่ายทำนานถึงหนึ่งปีครึ่ง ที่จังหวัดน่าน แพร่ พัทลุง สงขลา ตรัง สุราษฎร์ธานี ชุมพร มีการนำช้างมาเข้าฉากถึง 400 เชือก การถ่ายทำได้รับการสนับสนุนจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และนายเซียวซองอ๊วน สีบุญเรือน

ภาพยนตร์เรื่อง ช้าง ถ่ายทำแล้วเสร็จออกฉายเมื่อ พ.ศ. 2470 หลังจากออกฉายที่สหรัฐอเมริกา ก็ได้รับความสนใจเป็นอันมาก ได้รับการเสนอชื่อเข้าประกวดรางวัลออสการ์ ครั้งที่ 1 ประจำปี ค.ศ. 1927 ในสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม "การผลิตที่เป็นเอกลักษณ์ และมีศิลปะ" (en:Academy Award for Unique and Artistic Production)

ผู้กำกับ มีเรียน ซี. คูเปอร์ และ ช่างภาพ เออร์เนสต์ สโคแซค ต่อมาได้ร่วมงานกันอีกในการสร้างภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก คิงคอง (1933)

ผู้กำกับ มีเรียน ซี. คูเปอร์
อำนวยการสร้าง มีเรียน ซี. คูเปอร์
บทภาพยนตร์ Achmed Abdullah
กำกับภาพ Ernest B. Schoedsack
ตัดต่อ Louis R. Loeffler
จัดจำหน่าย พาราเมาท์
วันที่เข้าฉาย 29 เมษายน พ.ศ. 2470
ความยาว 64 นาที
ภาษา ไทย


ข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี















เป้าหมายในการเผยแพร่ภาพยนตร์เรื่องนี้: เพื่อให้อนุชนคนรุ่นหลังได้ร่วมกันอนุรักษ์ภาพยนตร์ที่ถ่ายทำในประเทศไทยและภาพยนตร์ไทยทั้งหมด มิให้สูญหาย

Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 20, 2009 9:06 am
โดย mykeawja
เพลงไทยเพลงแรกๆ หรือล๊อตแรกที่บันทึกเสียงลงแผ่นเสียงสำเร็จ

Emile Berliner ผู้ประดิษฐ์เครื่องเล่นจานเสียง (Gramophone) สำเร็จคนแรกของโลก และจานเสียงที่ใช้เล่นนั้น มีหน้าตราเป็นรูปเทวดามีปีก หรือ Angel Trademark โดยจานเสียงเพลงไทยโบราณที่ขับร ้องโดยหม่อมส้มจีน

Emile Berliner ผู้ประดิษฐ์เครื่องเล่นจานเสียง (Gramophone) สำเร็จคนแรกของโลก และจานเสียงที่ใช้เล่นนั้น
มีหน้าตราเป็นรูปเทวดามีปีก หรือ Angel Trademark โดยจานเสียงเพลงไทยโบราณที่ขับร้องโดยหม่อมส้มจีนและได้ชมนั้น
ถือเป็นล๊อตแรกๆ ที่เข้ามายังกรุงสยาม ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2445-2446 และขายโดย ห้างเคี้ยมฮั่วเฮง



Re: คลิปเก่าเล่าสยาม เปิดเผยให้คุณเห็นที่นี่ ที่แรก!!!

โพสต์โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 20, 2009 9:12 am
โดย mykeawja
เสียงเทศน์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวรเถระ) วัดเทพศิรินทราวาส

รูปภาพ

สมเด็จพระพุทธโฆษจารย์ นามเดิม เจริญ สุขบท เกิดในรัชกาลที่ 5 เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ.2415 ที่จังหวัดชลบุรี เป็นบุตรนายทองสุก และนางย่าง

เมื่ออายุ 8 ปี ได้เป็นศิษย์ของท่านเจ้าคุณชลโธปมคุณมุณี (พุฒ ปุณณกเร) ปฐมวัยอาวาสวัดเขาบางทราย

เมื่ออายุ 12 ปีได้บรรพชาที่วัดเขาบางทราย และเข้าศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดราชบพิธอุปสมบทเมื่อวันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ.2435 ที่วัดเขาบางทราย จังหวัดชลบุรี พ.ศ.2439 ได้ศึกษาพระวินัยปิฎกในสำนัก สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ที่วัดเทพศิรินทราวาส

"ตาบุญ (พระยาธรรมปรีชา) ผู้เป็นอาจารย์สอนบาลีของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ มอบช้างเผือกส่งเข้ามาให้ "

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยา วชิรญาณวโรรส ออกพระโอษฐ์รับสั่งเมื่อครั้งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร) สอบไล่ภาษาบาลี ในมหามงกุฎราชวิทยาลัยได้ที่ 1ทุกชั้นเป็นลำดับมา

พ.ศ.2441 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระราชาคณะที่พระอัมราภิลักขิต เป็นผู้อำนวยการศึกษามณฑลปราจีนบุรี ต่อมาได้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาสได้เลื่อนสมณศักดิ์เรื่อยมา

พ.ศ.2471 โปรดให้สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์

พ.ศ.2476กรรมการเถรสมาคมมีมติให้ท่าน เป็นประธานกรรมการมหาเถรสมาคมบัญชาการคณะสงฆ์แทนพระสังฆราชเจ้าซึ่งสิ้นพระชนม์ ประมวลเกียรติคุณพิเศษสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเร)เป็นพระเถระบริหารงานพระศาสนาถึง 5 แผ่นดิน คือแต่รัชกาลที่ 5-9 เป็นพระราชาคณะแต่อายุ 28 ปี เป็นสมเด็จพระราชาคณะแต่อายุ 57 ปี นับเป็นพระเถระที่ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พรรษาน้อยกว่า พระเถระหลายรูปเป็นเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส แต่อายุ 28 ปี ถึง 80 ปีรวม 53 ปี นับว่ายาวนานที่สุดไม่มีใครเทียบได้

เมื่อสอบนักธรรม หรือบาลีจะสอบได้ที่ 1 ทุกชั้นทุกประโยคเป็นรูปเดียวในสังฆมณฑล ดำรงตำแหน่งแม่กองธรรมสนามหลวง แม่กองบาลีสนามหลวง องค์เดียวกัน

ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ.2494เวลา 10.30 น. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ญาณวรเระ)มรณภาพด้วยโรคเนื้องอกที่ตับรวมอายุได้ 80 ปี พรรษาที่ 59

รูปภาพ

รูปภาพ