? รวม Coin Medal Decoration เฉลิมพระนคร 100-150-200 ปี ?

เหรียญ ธนบัตร หนังสือใหม่ และบัตรต่างๆ

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:20 pm

เหรียญสมโภชกรุง 200 ปี ชนิดราคาหน้าเหรียญ 5 บาทแบบยกถุง ^+

รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:35 pm

ด้านซ้ายเป็นแบบเหรียญขัดเงาเทียบกับด้านขวาซึ่งเป็นเหรียญแบบธรรมดาค่ะ

รูปภาพ

วิธีดูเหรียญขัดเงา (Proof) เหรียญขัดเงานั้นลักษณะพื้นเหรียญจะมองคล้ายกระจกเงา (Mirror-like) แต่ทว่าตรงรายละเอียดหน้าเหรียญทั้ง 2 ด้านจะมีลักษณะเหมือนทองพ่นทรายหรือปัดทราย (Sand-blasting)และนูนสูงค่ะ ยิ่งถ้าได้มุมสะท้อนแสงดีๆ จะดูง่ายและดูมีมิติ สวยงาม ประการสำคัญเหรียญขัดเงาโดยปรกติราคาจะสูงกว่าเหรียญทั่วไป เพราะทำออกมาน้อยมากๆ ค่ะ

รูปภาพ
แก้ไขล่าสุดโดย BANGKOKmuseum เมื่อ อังคาร ก.ย. 29, 2009 1:56 pm, แก้ไขแล้ว 1 ครั้ง
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:40 pm

เนื้อทองคำ ราคาหน้าเหรียญ 9000 บาท แต่ราคาตลาดไปไกลลิบเลยค่ะ
ถ่ายพร้อมกับจี้ห้อยคอสมโภชกรุง 200 ปี


รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:48 pm

สิ่งที่จะได้เห็นข้างล่างนี้ นุชได้รับน้ำใจอย่างเอื้ออารีเป็นที่สุดจากพี่เสริมหรือพี่ sermsoon ค่ะ

และสิ่งที่กล่าวถึงนี้ ถึงมีเงินก็หาซื้อไม่ได้ค่ะ

เพราะมันคือเหรียญที่ระลึกทองแดงรมควันฉลองกรุง 200 ปีแต่เหรียญที่ว่านี้เป็น...

"เหรียญตลก"

กล่าวคือมีสัญลักษณ์เทวดาทั้งสองด้าน แทนที่ด้านหนึ่งจะต้องเป็นเลข 200

และนุชได้ถ่ายเป็น Clip ให้ดูระหว่างเหรียญปกติกับเหรียญตลกด้วยค่ะ

คลิกข้างล่างเพื่อดู VDO Clip นะคะ

รูปภาพ

ส่วนข้างล่างเป็นรูปเปรียบเทียบค่ะระหว่างเหรียญปกติกับเหรียญตลกค่ะ

รูปภาพ

ขอขอบคุณพี่เสริมอีกครั้งค่ะ นุชสัญญาว่าจะนำเหรียญนี้เข้าพิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนครและจะเผยแพร่ให้คนไทยได้รู้ได้เห็นให้มากที่สุดค่ะ 8)
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 8:58 pm

รูปเหรียญพระราชทานเป็นที่ระลึกเฉลิมพระนคร 150 ปี คือจะมีแพรแถบค่ะ โดยออกมา 2 ขนาดคือเหรียญใหญ่กับเหรียญย่อ

รูปภาพ

รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 9:00 pm

เหรียญที่ระลึกในงานเฉลิมพระนคร 150 ปีข้างบนเมื่อเทียบกับเหรียญที่ระลึกในงานสมโภชพระนครครบ 150 ปี พ.ศ. 2475 ทั้งด้านหน้าและด้านหลังค่ะ

รูปภาพ

รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 9:05 pm

นุชขอสรุปว่าด้วยเรื่องรวมเหรียญเฉลิมพระนครฉลองกรุงเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือพูดง่ายๆ ว่าบูรณวัดพระแก้วในช่วงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นะคะ เพราะจะได้จบอยู่ในโพสเดีวกัน และง่ายต่อการค้นคว้าค่ะ

บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามฉลองกรุงเทพ 200 ปี พ.ศ. 2525

เหรียญพระแก้วมรกตสมโภชกรุง 200 ปีนี้มีด้วยกัน 2 รุ่นคือรุ่นแรกและรุ่น"พระราชศรัทธา" ที่อยู่ใต้สัญลักษณ์ ภปร. นั้น ซึ่งมีขนาดเล็กแบบสุดๆ

กล่องเหรียญพระแก้วรุ่นแรก ก่อนรุ่นพระราชศรัทธาค่ะ

เริ่มจากเหรียญพระแก้วมรกตสมโภชกรุง 200 ปี เนื้อทองคำ ครบ 3 ฤดู

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

กล่องเหรียญพระแก้วรุ่นพระราชศรัทธาค่ะ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ



บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามฉลองกรุงเทพ 150 ปี พ.ศ. 2475
เก่าถัดมาก็คือเหรียญเฉลิมพระนครฉลองกรุงเพื่อบูรณวัดพระแก้ว โดยออกเป็นเหรียญฉลองกรุงพระแก้วมรกต 150 ปี นุชขอลงรายละเอียดอีกทีเพื่อเปรียบเทียบกับเหรียญถัดไปค่ะ

เหรียญพระแก้วมรกต 150 ปี
ลักษณะ : กลมแบน ขอบเรียบ
ด้านหน้า : ภายในเรือนแก้วเป็นรูปพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกต ปางสมาธิประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำ บัวหงาย มีผ้าทิพย์ห้อย และมีดอกไม้อยู่โดยรอบ
ด้านหลัง : เป็นรูปยันต์กงจักร มีอักษรจารึก มรรค 8
อ่านว่า ทิ คือ สัมมาทิฐิ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสังกัปโป
อ่านว่า วา คือ สัมมาวาจา
อ่านว่า กํ คือ สัมมากัมมันโต
อ่านว่า อา คือ สัมมาอาชิโว
อ่านว่า วา คือ สัมมาวายาโม
อ่านว่า ส คือ สัมมาสติ
อ่านว่า สํ คือ สัมมาสมาธิ
ที่ริมขอบเหรียญบางเหรียญ จะมีชื่อบริษัทผู้ผลิตตังนี้ เพาะช่าง สุวรรณประดิษฐ์ นาถาจารุประกร ฮั่งเตียนเซ้ง และ Georges Hantz Geneve U.G.D.
ชนิด : ทองคำ เงิน นิเกิล ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มิลลิเมตร
สร้าง : พ.ศ. 2470- 2475

เหรียญพระแก้วมรกตเนื้อเงินเฉลิมพระนคร 150 ปี บล๊อคเจนีวา

รูปภาพ

รูปภาพ

ตามด้วยบล๊อคเพาะช่าง

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

ใน พ.ศ. 2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร มีอายุครบ 150 ปี ในพ.ศ. 2475 โดยมีสมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานคณะกรรมการ
คณะกรรมการประมาณเงินที่จะต้องใช้ในการปฏิสังขรณ์ไว้ 6 แสนเศษ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชศรัทธา อุทิศพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ 2 แสนบาท รัฐบาลอนุญาตเงินแผ่นดินอุดหนุนอีก 2 แสนบาท ส่วนที่ยังขาดอยู่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กรรมการจัดดำเนินการเรี่ยไรพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไปเพื่อให้ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลร่วมกัน (ประกาศบอกบุญในการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พ.ศ. 2473 โรงพิมพ์บำรุงนุกุลกิจ พิมพ์ถวาย 20,000 ฉบับ) โดยให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติจัดพนักงานรับเรี่ยไร โดยมีใบเสร็จและเหรียญพระแก้วตอบแทนเป็นที่ระลึกตามชั้นและจำนวนเงินที่บริจาค ดังต่อไปนี้
1. ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองคำ
2. ผู้บริจาคตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วเงิน
3. ผู้บริจาคตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองขาว (นิเกิล)
4. ผู้บริจาคตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วทองแดง
และผู้บริจาค ตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป กรรมการจะได้รวบรวมรายนามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นคราวๆ (ประกาศระเบียบการรับเงินเรี่ยไรการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หอรัษฏากรพิพัฒน์ 16 กันยายน พ.ศ. 2473)
ต่อมาปรากฏในใบแจ้งความของสำนักผู้อำนวยการวัดพระศรีรัตนศาสดารามได้ความว่า เหรียญที่ระลึกชุดนี้ได้สร้างก่อนการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามครั้งใหญ่และเนื่องจากประชาชนมีความศรัทธามาก จึงได้ให้หลายบริษัทช่วยกันผลิตเพื่อให้ทันความต้องการคือ บริษัทเดอลารู เพาะช่าง นาถาจารุประกร สุวรรณประดิษฐ์ ฮั่งเตียนเซ้ง โดยผู้บริจาคเงินบำรุงจะได้รับเหรียญสมนาคุณตามลำดับดังนี้
1. ผู้บริจาคตั้งแต่ 2000 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองคำ
2. ผู้บริจาคตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญเงิน
3. ผู้บริจาคตั้งแต่ 200 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญนิเกิล
4. ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป ได้รับเหรียญทองแดง



บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามฉลองกรุงเทพ 100 ปี พ.ศ. 2425
เก่าที่สุด หายากที่สุดค่ะ...
และนี่คือประวัติความเป็นมาของการจัดสร้างเหรียญค่ะ
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า วัดพระแก้ว เป็นวัดที่กล่าวยกย่องกันว่าเป็น ?หลักของพระนคร? เพราะเป็นพระอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ ๑ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นพร้อมกับการสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อปี พ.ศ.๒๓๒๕ แต่มาแล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๓๒๗ เป็นวัดที่สร้างในเขตพระบรมมหาราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกทางทิศตะวันออก ใช้เป็นสถานที่ในการประกอบพระราชพิธีของราชสำนักต่างๆ เช่น พระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช พระราชพิธีทรงผนวช พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาและรัฐพิธีที่สำคัญ และยังเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของประเทศ
ข้อมูลเหรียญ
ลักษณะ : กลมแบน สันขอบเรียบ
ด้านหน้า : เป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๕ ครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ ฉลองพระองค์พลเรือน เรียกว่า แบบเสื้อยันต์ ริมขอบเหรียญมีพระปรมภิไธย ?พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริพัตร วรขัติราชบิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิ ราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว? ด้านหลัง : เป็นภาพวัดพระแก้วและด้านล่างมีข้อความว่า ?การฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุลศักราช ๑๒๔๔? และริมขอบเหรียญมีข้อความว่า ?เป็นที่รฦกในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ และพระเจ้าน้องยาเธอปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งชำรุด ปฏิสังขรณ์มาช้านาน ตั้งแต่วันที่ ๓ฯ๑ ๒ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก ๑๒ ถึงวัน ๓ฯ๑ ๖ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก ๑๕ แล้วเสร็จบริบูรณ์?
ชนิด : ทองคำ เงิน ทองแดง
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๗๑ มิลลิเมตร

เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ซึ่งเป็นวโรกาสที่กรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ในการจัดงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชประสงค์ในการจัดงานพระราชพิธีสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ซึ่งมีอายุครบ ๑๐๐ ปี หรือที่เรียกกันในทางราชการว่า งานสมโภชพระนคร ก่อนงานพระราชพิธีครั้งนั้น ทรงมีพระราชดำริว่า?...การที่จะสมโภชพระนครนั้น ควรต้องประพฤติตามแบบอย่างในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คือ เมื่อแรกจะสร้างพระบรมมหาราชวัง พระองค์ได้ทรงสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นหลักก่อน ดังนั้น วัดพระศรีรัตนศาสดารามที่ชำรุดทรุดโทรม ขาดการบูรณะเป็นเวลาถึง ๑๐๐ ปี สิ่งก่อสร้างที่ปลูกขึ้นมาใหม่ก็คงค้างคาอยู่ ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ จึงถึงเวลาจะต้องทำการบูรณปฏิสังขรณ์...?

และพระองค์ยังทรงมีพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่จะทรงปฏิสังขรณ์วัดพระศรรัตนศาสดารามให้แล้วเสร็จ เพื่อจะได้ฉลองสมโภชไปพร้อมกับงานฉลองพระนครซึ่งพระราชภารกิจครั้งนี้ในสายตาของคนทั่วไป ย่อมหมายถึงภารกิจอันหนักอึ้งยากที่จะให้สำเร็จลงได้ง่ายๆ เพราะมีเวลาเหลืออีกไม่นานนัก แต่ถึงกระนั้นก็ทรงมิได้ย่อท้อพระราชหฤทัย พระองค์ทรงตั้งเป็นพระราชสัตยาธิษฐานต่อพระพุทธมณีรัตนปฏิมากรว่า ?ถ้าข้าพเจ้ายังจะได้ดำรงสมบัติยืนยาวสืบไป ขอให้ปฏิสังขรณ์วัดพระศรรัตนศาสดารามนี้แล้วสำเร็จบริบูรณ์ทันความประสงค์?

หลังจากทรงตั้งแระราชหฤทัยเช่นนั้น จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอเข้ามาช่วยเหลืองาน ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า ?...ปันกันเป็นนายด้านทำการวัดพระศรีรัตนศาสดารามโดยแข็งแรงให้แล้วเสร็จทันกำหนดจงได้...? หมายถึงการแบ่งหน้าที่กันรับผิดชอบงานปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามในด้านต่างๆ ของพระองค์ก็ปรากฏว่า ทุกสิ่งที่ได้ทรงตั้งพระราชปณิธานไว้นั้นได้สัมฤทธิผล ซึ่งการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ใช้เวลาบูรณะรวม ๒ ปี ๓ เดือน ๒๐วัน โดยสามารถเสร็จก่อนวันงานสมโภชพระนคร ๔ วัน

และในวาระดังกล่าว จึงทรงโปรดฯให้สร้างเหรียญที่ระลึกเพื่อพระราชทานแก่ผู้ที่มาร่วมช่วยเหลืองานจนสำเร็จลุล่วง เรียกว่า เหรียญที่ระลึกในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นเหรียญขนาดใหญ่ ลักษณะกลม สันขอบเรียบ

รูปภาพ
รูปภาพ

รูปภาพ
รูปภาพ

ด้านหน้า เป็นพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวครึ่งพระองค์ ผินพระพักตร์ทางเบื้องซ้ายของเหรียญ ฉลองพระองค์พลเรือน (เรียกว่า แบบเสื้อยันต์) ทรงสายสะพายเครื่องราชอิสริยาภรณ์ มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก พระมหาสังวาลนพรัตน์ราชวราภรณ์ ทรงสายสะพายสร้อยมหาจักรีบรมราชวงศ์ (สายบน) ถัดลงมาเป็นสายสร้อยจุลจอมเกล้าและเครื่องราชอิสริยาภรณ์มงกุฎไทย ริมขอบเหรียญมีพระปรมาภิไธย ?พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพมหามงกุฎ บุรุษรัตนราชรวิวงษ์ วรุตมพงษ์บริพัตร วรขัติราชบิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศ บรมธรรมิกมหาราชบรมนารถบพิตรพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว?

ด้านหลัง เป็นภาพวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ด้านทิศตะวันออก เบื้องล่างมีข้อความว่า ?การฉลองวัดพระศรีรัตนศาสดาราม จุลศักราช ๑๒๔๔? ริมขอบเหรียญมีข้อความว่า?เป็นที่รฦกในการที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอและพระเจ้าน้องยาเธอ ปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามซึ่งชำรุดปฏิสังขรณ์มาช้านานตั้งแต่วันที่ ๓ฯ๑ ๒ ค่ำ ปีเถาะ เอกศก ๑๒ ถึงวัน ๓ฯ๑ ๖ค่ำ ปีมะเมียจัตวาศก ๑๕ แล้วเสร็จบริบูรณ์?

สำหรับเหรียญที่สร้างในครั้งนี้มีทั้งหมด ๓ ชนิด ได้แก่ ทองคำ เงิน และทองแดง ซึ่งเหรียญที่ระลึกนี้ถือว่าเป็นเหรียญที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดาเหรียญที่ระลึกที่พระองค์ทรงสร้างและเนื่องจากมีขนาดใหญ่มาก จึงสันนิษฐานว่าสร้างในจำนวนที่ไม่มากนัก

จบบริบูรณ์เรื่องรวมเหรียญเฉลิมพระนครฉลองกรุงเพื่อบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามทั้ง 3 วาระค่ะ
แก้ไขล่าสุดโดย BANGKOKmuseum เมื่อ อังคาร ก.ย. 29, 2009 8:13 am, แก้ไขแล้ว 4 ครั้ง.
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 9:09 pm

วันอาทิตย์ที่ 8 มิถุนายน 2551 พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนครได้ต้อนรับคุณเปา (PAO) คุณต่อ (ต่อ tapae inn) และน้องลิฟ (LIFT) สมาชิกโค้กไทยค่ะ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:06 pm

แผงเหรียญที่ระลึกเนื้ออลูมิเนียมแบบ "ขัดเงา - PROOF" ไม่มีจำหน่ายจ่ายแจก กองกษาปณ์ทำขึ้นมาเพื่อการทดสอบเท่านั้นค่ะ ^+

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

#&

พูดถึงเหรียญปัดเงาหรือ Proof coin ก็เลยนึกถึงแสตมป์ทองปัดเงาที่เพิ่งได้มาค่ะ
ได้มาทั้งหมด 3 ชิ้น ซึ่งอยู่ในชุดฉลองกรุง 200 ปี พ.ศ. 2525 โดยมาจากชุดรวมแสตมป์ทองคำ"สืบสานพระราชประวัติ" ตัวแสตมป์ทำด้วยเงินแท้เคลือบทองบริสุทธิ์ 99% ค่ะ


รูปภาพ

#&
แก้ไขล่าสุดโดย BANGKOKmuseum เมื่อ อังคาร ก.ย. 29, 2009 7:45 am, แก้ไขแล้ว 2 ครั้ง.
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:11 pm

วันที่ 18 มิถุนายน 2551 คุณต้น ตระการ ยกกองถ่ายมาถ่ายทำที่พิพิธภัณฑ์ออกอากาศค่ะ ^+

รูปภาพ

รูปภาพ

รูปภาพ

พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:35 pm

เหรียญดุษฎีมาลาฯ เฉลิมพระนคร ๑๐๐ ปี

รูปภาพ

รูปภาพ

หนึ่งในเจ็ดเหตุการณ์ที่ถูกบันทึกถึงงานสมโภชกรุง ๑๐๐ ปี ข้อ 5 คือ ประวัติการสร้างเหรียญดุษฎีมาลาฯ มีดังนี้

...(๕) ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ?มหาจักรีบรมราชวงศ์? และเหรียญ ?ดุษฎีมาลา?

เนื่องในงานสมโภชพระนครครอบรอบ ๑๐๐ ปีแรกดังกล่าวมานี้ พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราชได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ?มหาจักรีบรมราชวงศ์? และเหรียญ ?ดุษฎีมาลา? เรื่องทรงสร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญดังกล่าวมานี้ ปรากฏข้อความพิสดารอยู่ในประกาศพระบรมราชโองการซึ่งอาลักษณ์ได้อ่านถวายที่พลับพลาจตุรมุข ณ ท้องสนามหลวง ในวันบรรจบครบ ๑๐๐ ปีแรก เมื่อวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๕ มีข้อความดังต่อไปนี้

?สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระเจ้าแผ่นดินสยามและเป็นบรมราชาธิราชแห่งดินแดนที่ใกล้เคียง คือ ลาวเฉียง ลาวกาว มลายู กะเหรี่ยง และอื่นๆ ผู้เป็นเจ้าเป็นใหญ่ของเครื่องราชอิศริยยศ และเหรียญเครื่องประดับสำหรับความชอบต่างๆ

ขอประกาศแก่พระบรมวงศานุวงศ์ ฝ่ายน่า ฝ่ายใน เสนาบดี ข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ซึ่งได้มาประชุมในที่นี้ ฤาผู้ใดผู้หนึ่ง ซึ่งได้พบคำประกาศอันนี้ให้ทราบทั่วกันว่าเราดำริเห็นว่าในเวลาวันนี้เป็นวันมงคลสมัย ซึ่งบรรจบครบรอบร้อยปีที่ ๑ นับตั้งแต่สมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิราช คือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมบรมราชกษัตริย์ ในมหาจักรีบรมราชวงศ์ คือพระบรมราชวงศ์ปัจจุบันนี้ได้ทรงสถาปนากรุงรัตนโกสินทรมหินทรายุธยาเป็นบรมราชธานีมหานครใหญ่ และเสด็จดำรงรัตนราไชยมไหยสวรรย์สืบบรมราชสันตติวงศ์ เนื่องมาจนกาลบัดนี้ จึงได้พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการทั้งปวงมาประชุมกันก่อนพระฤกษ์ที่ระลึกถึงพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปฐมบรมราชวงศ์ พระองค์นั้น ซึ่งเรียกนามที่นี้ต่อไปภายหน้าว่าปฐมบรมราชานุสาวรีย์ บัดนี้ได้วางศิลาฤกษ์นั้นแล้ว

เพราะเพื่อจะให้เป็นที่ระลึกถึงพระเดชพระคุณความดีของพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวปฐมบรมราชวงศ์ ซึ่งได้ทรงประดิษฐานมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ดำรงพิภพกรุงสยามโดยความผาสุกสวัสดิ์ มิได้มีการรบพุ่งชิงไชยในพระนครเหมือนอย่างแต่ก่อนและพระเจ้าแผ่นดินในพระบรมราชวงศ์นี้เล่า ก็เสด็จอยู่ในธรรมิกวัตตานุวัตโดยบรมราชประเพณีสืบมา มิได้ผันแปรวิปปริตไปต่างๆ เหมือนอย่างที่เคยเป็นมาในกาลก่อน และพระบรมราชวงศานุวงศ์ทรงเสวยสุขสโมสรสามัคคีตั้งอยู่พรักพร้อมมิได้มีเหตุร้าวรานยิ่งใหญ่จนถึงให้เกิดการอันตรายขึ้นในบรมราชวงศ์แต่สักครั้งหนึ่งไม่ การซึ่งพระบรมราชวงศ์ได้ดำรงแผ่นดินเรียบร้อยราบคาบมาทั้งภายนอกภายในได้ถึงร้อยปีดังนี้ มิได้เคยมีปรากฏในสยามราชพงศาวดารแต่ก่อนๆ มาเลย ควรเป็นมหัศจรรย์ เพื่อจะให้เป็นสำคัญในการพิเศษของพระบรมราชวงศ์นี้ เราจึงได้ให้สร้างเครื่องราชอิศริยยศอันประดับลวดลายล้วนแล้วด้วยที่หมายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวปฐมบรมมหาจักรีบรมราชวงศ์ เป็นเครื่องประดับสำหรับพระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งฝ่ายน่า ฝ่ายใน ที่ระลึกถึงพระเดชพระคุณ พระเจ้าอยู่หัวปฐมบรมราชวงศ์ ดุจหนึ่งว่าพระองค์ได้พระราชทานแด่พระราชวงศ์นุวงศ์ ของพระองค์ผู้ได้ดำรงรักษาแบบประเพณีสำหรับแผ่นดินสืบไป

อนึ่งเพื่อจะได้เป็นที่ระลึกพระเดชพระคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเป็นต้นพระบรมวงศ์ ซึ่งสืบสัตติวงศ์มาโดยลำดับ ดังจะได้เป็นที่หมายแห่งความยินดีของเราให้เป็นที่ระลึกแห่งสิ่งสำคัญของเราให้เป็นสมัยบรรจบครบรอบร้อยปีนี้ เราจึงได้สร้างเหรียญเครื่องประดับอีกอย่างหนึ่งสำหรับเป็นรางวัลสำแดงคุณพิเศษ ความดีความชอบแห่งท่านทั้งปวง ตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ตลอดลงไปจนข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย ขุนหมื่นกรมการ ไร่หลวงไร่สม ซึ่งไดรับราชการฉลองพระเดชพระคุณ โดยใจภักดีซื่อสัตย์ต่อราชการ ตามคุณพิเศษ ความดีความชอบต่างๆ

อีกประการหนึ่งจะได้ไว้สำหรับเป็นรางวัลแก่ผู้ที่ได้รับราชการโดยกตัญญูซื่อสัตย์ภักดีในตัวเราและราชการแผ่นดินกับผู้ที่มีความเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทั้งผู้ที่มีความกล้าหาญสู้สละชีวิตออกต่อสู้ข้าศึกศัตรู เพื่อจะรักษาราชการและบ้านเมืองอันเป็นที่เกิดแห่งตน ชนผู้น้อยที่ได้รับราชการฉลองพระเดชพรุคุณดังที่กล่าวมานี้ก็ยังไม่มีสิ่งสำคัญอันใดที่จะให้ปรากฏแปลกประหลาดเป็นรางวัลแก่ผู้ที่มีความชอบด้วยดังนี้ให้พิเศษกว่าเพื่อนข้าราชการด้วยกันได้ เพราะเครื่องอิสริยยศทั้งสามอย่างนั้นก็มีกำหนด สำหรับพระราชทานต่อผู้มีความชอบ ที่มียศบรรดาศักดิ์สูง ทั้งเหรียญจักรมาลานั้นก็เป็นของสำหรับพระราชทานเฉพาะทหารที่รับราชการนาน มีความดีความชอบ ไม่มีความผิดร้ายในราชการ และเหรียญบุษปมาลากับตรารัตนาภรณ์นั้นเล่าก็เป็นแต่เหรียญสำหรับผู้ดี ที่มีวิชาการช่าง หาได้พระราชทานตลอดทั่วหน้ากันไม่ ผู้ที่มีความดีความชอบฝ่ายข้างกล้าหาญ และมีจิตเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ชาติเดียวกัน ก็ยังไม่มีสิ่งสำคัญเป็นที่หมายแห่งความยินดีของเรา ให้เป็นความพิเศษแปลกประหลาดไปได้ เพราะฉะนั้นเป็นความประสงค์ของเราอย่างยิ่ง ที่จะรางวัลผู้ที่มีความชอบดังกล่าวมานี้ให้เป็นเกียรติยศที่ระลึกแห่งเราและรัชทายาท ฤาผู้ซึ่งจะสืบอายะติกะราชสันตติวงศ์ ในพระบรมราชจักรีนี้ต่อไปจึงได้จัดสร้างเหรียญประดับนี้ขึ้นชื่อว่า ดุษฎีมาลา สำหรับทหารและพลเรือนทั้งผู้ใหญ่ผู้น้อยซึ่งมีความภักดีต่อราชการจะได้รับสิ่งสำคัญเป็นที่หมายความดีของเราปรากฏไปสิ้นกาลนาน เพื่อจะได้ช่วยกันรับราชการฉลองพระเดชพระคุณสืบไป

ขอให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายน่า ฝ่ายใน ผู้ซึ่งจะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์มหาจักรีบรมราชวงศ์และผู้ซึ่งได้รับเหรียญเครื่องประดับสำหรับความดีความชอบชื่อดุษฎีมาลาต่อไปภายหน้า แลขอให้มหาจักรีบรมราชวงศ์ดำรงยืนยาว อยู่ในอิศริยยศเป็นอนันตสาธารณถาวรทุกเมื่อ เป็นเหตุให้ท่านทั้งหลายทั้งปวงผู้ได้รับเครื่องราชอิศริยยศ และเหรียญดุษฎีมาลา ได้เจริญสุขสถาพรศุภสวัสดิพิพัฒนผลทุกประการ เทอญ

ประกาศนี้ส่งไปแต่พลับพลาจัตุรมุข ในท้องสนามหลวง ตั้งแต่ ณ วันศุกร์ ขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเมีย จัตวาศก ๑๕ ศักราช ๑๒๔๔ (ตรงกับวันที่ ๒๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๒๕ วันครบรอบร้อยปีแรก) เป็นปีที่ ๑๕ ฤาวันที่ ๔๙๑๐ ในรัชกาลปัตยุบันนี้ฯ?

ด้วยเหตุดังกล่าวมาเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ?มหาจักรีบรมราชวงศ์? และเหรียญ ?ดุษฎีมาลา? จึงมีขึ้นเป็นปฐมเมื่อสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบร้อยปีแรก ด้วยประการฉะนี้

เห็นสมควรยุติเรื่องทรงพระกรุณาโปรดเกลาฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ?มหาจักรีบรมราชวงศ์? และเหรียญ ?ดุษฎีมาลา? โดยสังเขปแต่เพียงนี้ ...

ที่มา : หนังสือที่ระลึกงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ๒๐๐ ปี ราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช ๒๕๒๕ เรื่องงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อครบ ๑๐๐ ปีแรก โดย นายณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม ราชบัณฑิตประเภทประวัติศาสตร์ สาขาวิชาประวัติศาสตร์ไทย หน้า ๑๙๒ ? ๑๙๔
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:37 pm

รูปภาพ

รูปภาพ

พ.ศ. ๒๔๒๔

เหรียญดุษฎีมาลา หรือเหรียญทรงยินดี และเข็มศิลปวิทยา

เหรียญดุษฎีมาลา หรือที่เรียกกันว่า เหรียญทรงยินดี เป็นเหรียญที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๕ อันเป็นปีมหามงคลสมัยครบ ๑๐๐ ปี แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์ในการระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปฐมบรมจักรีวงศ์ จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยยศ มีนามว่า ?เครื่องราชอิสริยยศอันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์? สำหรับพระราชทานแก่พระบรมศานุวงศ์ ที่ได้ดำรงรักษาราชประเพณีและรักษาความสามัคคีในราชตระกูลให้ยั่งยืนสืบมา

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชดำริว่า ข้าราชการที่ได้รับราชการมาด้วยดี มีความสามารถ ทำคุณประโยชน์ยิ่งใหญ่แก่บ้านเมืองนั้น ควรจะได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยยศด้วย พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเหรียญ ?ดุษฎีมาลา? ขึ้น

ข้อมูลเหรียญ

ลักษณะ : กลมรี สันขอบเรียบ

ด้านหน้า : มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ภายในวงขอบเหรียญมีประปรมาภิไธยว่า ?จุฬาลังกรณว์หัส์ส ปรมราชาธิราชิโน? ขอบล่างเป็นช่อชัยพฤกษ์ไขว้กัน มีอักษรโรมันตัวเล็กว่า ?J.S & A.B WYON SC? เบื้องบนมีพระแสงขรรค์ชัยศรีกับธารพระกรไขว้กันมีห่วงยึดกับแผ่นโลหะจารึกว่า ?ทรงยินดี?

ด้านหลัง : เป็นรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระขรรค์ยืนแท่นพิงโล่ตราแผ่นดิน ภายในวงขอบเหรียญมีภาษมคธว่า ?สยามิน์ทปรมราช ตุฏธิป์ปเวทนํอิทํ? ใต้แท่นมีเลข ๑๒๔๔

ชนิด : ทองคำ เงินกะไหล่ทอง เงิน และสำริด

ขนาด : กว้าง ๔๑ มิลลิเมตร ยาว ๔๖ มิลลิเมตร

และนอกจากเหรียญดุษฎีมาลาแล้ว ยังทรงกำหนดให้มี เข็มพระราชทานหรือเข็มศิลปวิทยา ประกอบกับเหรียญรวม ๕ ชนิดด้วย ดังนี้

๑. เข็มราชการในพระองค์ สำหรับพระราชทานผู้ที่รับราชการในพระองค์และรัชทายาทหรือผู้สืบบรมราชตระกูลและผู้มีความดีความชอบพิเศษ

๒. เข็มราชการแผ่นดิน สำหรับพระราชทานผู้ที่มีความชอบ ทำประโยชน์อย่างยิ่งแก่ราชการ แต่ยังไม่ควรถึงจะได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกและมงกุฎสยาม

๓. เข็มศิลปวิทยา สำหรับพระราชทานผู้ที่เป็นนักปราชญ์ราชกวี นายช่างและช่างฝีมือพิเศษ หรือผู้ที่ได้แต่งหนังสือตำราวิทยาการต่างๆ ซึ่งมีคุณประโยชน์ต่อราชการแผ่นดิน

๔. เข็มความกรุณา สำหรับพระราชทานผู้ที่บริจาคช่วยเหลือต่อเพื่อนมนุษย์ หรือช่วยเหลือผู้ประสบภัยอันตราย ให้รอดพ้นด้วยกำลังความสามารถแม้จะเสี่ยงต่อชีวิตของตน

๕. เข็มกล้าหาญ สำหรับพระราชทานแก่นายทหารทั้งขั้นผู้ใหญ่และผู้น้อยทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ แชะขาราชการในกองทัพ ไพร่หลวง ไพร่สมทั้งหลายที่ได้ต่อสู้ข้าศึกศัตรูด้วยความภักดีต่อแผ่นดิน

สำหรับเข็มดังกล่าวจะใช้กลัดติดกับแถบแพรเพื่อเป็นเครื่องหมายแสดงคุณพิเศษตามสาขาของผู้ได้รับ

เหรียญดุษฎีมาลา นี้เป็นเหรียญที่ออกแบบโดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ส่วนสาเหตุที่นิยมเรียกกันว่า ?เหรียญทรงยินดี? นั้น นอกจากมีคำว่า ทรงยินดี ปรากฏอยู่บนเหรียญแล้ว สันนิษฐานว่า อาจเป็นพระราชประสงค์ที่พระองค์ทรงโปรดฯ ให้สร้างขึ้นในวาระการสถาปนาพระนครครบ ๑๐๐ ปี ด้วย

ด้านหน้า มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วงขอบเหรียญมีพระปรมาภิไธยว่า ?จุฬาลังกรณว์หัส์ส ปรมราชาธิราชิโน? ขอบล่างเป็นช่อชัยพฤกษ์ไขว้กัน มีอักษรโรมันตัวเล็กว่า ?J.S & A.B WYON SC? เบื้องบนมีพระขรรค์ไชยศรีกับธารพระกรไขว้กัน มีห่วงยึดกับเหรียญ และติดแผ่นโลหะจารึกว่า ?ทรงยินดี?

ด้านหลัง เป็นรูปพระสยามเทวาธิราช ทรงพระขรรค์ยืนแท่นพิงโล่ตราแผ่นดิน พระหัตถ์ขวาทรงพวงมาลัย เว้นพื้นที่ไว้สำหรับจารึกชื่อผู้ได้รับพระราชทาน ใต้แท่นมีเลข ๑๒๔๔ บอกจุลศักราชที่สร้างและมีอักษรรอบขอบเหรียญเป็นภาษามคธว่า ?สยามิน์ทปรมราช ตุฏธิป์ปเวทนํอิทํ? แปลว่า ?เหรียญนี้เป็นเครื่องหมายแสดงความยินดีของพระราชาผู้ยิ่งใหญ่ คือ พระเจ้ากรุงสยาม?

ส่วนหลักเกณฑ์การพระราชทาน ?เหรียญดุษฎีมาลา? นั้น แต่เดิม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จะทรงเป็นผู้วินิจฉัยเพียงพระองค์เดียว บางครั้งผู้รับพระราชทานนั้นอาจกราบบังคมทูลขอเองก็มี หรือผู้บังคับบัญชาเจ้ากระทรวงอาจกราบบังคมทูลขอพระราชทานให้ก็มี ถ้าทรงพิจารณาเห็นสมควรก็จะทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้

ต่อมาได้เปลี่ยนหลักเกณฑ์ใหม่ในการพิจารณาโดยการให้เหล่าเสนาบดี เจ้ากระทรวงเป็นผู้วินิจฉัยในขั้นแรกก่อน เมื่อเห็นควรแล้วจึงค่อยเสนอให้พระองค์ทรงมีพระราชวินิจฉัยเพื่อพระราชทานต่อไป แต่ถ้าผู้ที่ได้รับพระราชวินิจฉัยให้ได้รับพระราชทาน ปฏิบัติตนไม่สมกับเกียรติยศที่ได้รับหรือมีความผิดเป็นขบถได้รับโทษที่รุนแรงก็จะมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ถอดออกจากเกียรติยศนั้น และเรียกเหรียญคืน ตลอดจนงดเบี้ยหวัดเบี้ยเลี้ยงที่ได้รับตามพระราชบัญญัติเครื่องราชย์ฯ นั้นทั้งหมด

เหรียญดุษฎีมาลา หรือ ?เหรียญทรงยินดี? ใช้ห้อยกับแพรแถบริ้วแดง ริ้วขาวสำหรับทหารหรือผู้ได้รับพระราชทานเป็นเจ้านาย และแพรแถบริ้วขาว ริ้วสีชมพูสำหรับฝ่ายพลเรือน โดยให้ประดับที่อกเสื้อเบื้องซ้าย ส่วนสุภาพสตรีใช้ห้อยกับแพรแถบผูกเป็นรูปแมลงปอ

ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้แก้ไขขนาดของเหรียญนี้ให้เล็กลงกว่าของเดิม โดยมีขนาดกว้าง ๓๑ มิลลิเมตร สูง ๓๙ มิลลิเมตร และงดการพระราชทานเข็มราชการควบคู่ด้วย

ที่มา : หนังสือเหรียญราชอิสริยาภรณ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หน้า ๓๐๖ -๓๐๙
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » อังคาร ก.ย. 29, 2009 7:28 am

ที่นี่ ที่เดียว...
รวมเหรียญแพรแถบเฉลิมพระนคร ๑๐๐ ปี ๑๕๐ ปี และ ๒๐๐ ปีค่ะ


รูปภาพ

รูปภาพ
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » อังคาร ก.ย. 29, 2009 7:39 am

งานมี๊ตติ้งโค้กไทย วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม 2551
ขอขอบคุณน้ำใจเพื่อนๆ ชาวโค้กไทยมากค่ะ


ขอบคุณคุณเอ๊าะและคุณแซมสำหรับกระป๋องน่ารักพร้อมสติ๊กเกอร์โค้กไทย

รูปภาพ

ขอขอบคุณ คุณไก่ (kai_interior) ที่กรุณายกกรุแก้วและเหรียญงานเก็บฉลองกรุงมาให้แบบทำให้นุชดีใจจริงๆ

รูปภาพ

ภาพนี้คุณดวงและคุณโจ้ ยังร่วมดีใจด้วยเลยค่ะ

รูปภาพ

คุณ Bibon ยื่นแก้วสีสดใสเขียวปิ๊งสัญลักษณ์ฉลองกรุง 200 ปีให้อีก....ขอบคุณจากใจจริงค่ะ

รูปภาพ

คุณ winwin พี่ Win หยิบยื่นไดอารี่ฉลองกรุงให้ค่ะ

รูปภาพ


#& !& !& !&
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

Re: รวม Coin Medal Decoration และอื่นๆ เฉลิมพระนคร100-150-200 ปี

โพสต์โดย BANGKOKmuseum » อังคาร ก.ย. 29, 2009 7:41 am

พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนครได้ของมาจัดแสดงอีกแล้วค่ะ
เหรียญสตพรรษมาลา หรือ เหรียญ ๕ รัชกาล พ.ศ. ๒๔๒๕ เนื้อเงิน สภาพคมกริ๊บเลย
เมื่อได้มา ก็ต้องแบ่งให้โค้กไทยได้ชมกันก่อนใครค่ะ


รูปภาพ

รูปภาพ

ในปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ก่อนปีที่จะมีการจัดงานสมโภชพระนครครบ ๑๐๐ ปี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เตรียมการพิธีสมโภชพระนครอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ แห่งบรมราชวงศ์จักรี
ก่อนพิธีฉลองการสมโภชจะเริ่ม ได้ทรงโปรดฯ ให้มีการจัดงานขึ้นหลายอย่างเป็นต้นว่า :
- การบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามเพื่อความเป็นสิริมงคล
-การหล่อพระบรมรูปรัชกาลที่ ๑-๔ เพื่อถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
-ทรงโปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาทเป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
-สร้างปราสาทศิลาถวายเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์แด่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ณ บริเวณทั้งสนามหลวง
-สร้างศาลสถิตยุติธรรม
-ได้เตรียมงานการแสดงสินค้าแห่งชาติ ?นิทรรศการแนชันนาลเอกษฮีบิชัน? (National Exhibition) เป็นต้น

ข้อมูลเหรียญ
ลักษณะ : กลมแบน วงนอกมีขอบรัศมีโดยรอบ ๒๐ แฉก
ด้านหน้า : มีพระบรมรูปตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ซ้อนกัน มีอักษรขนาดเล็กอยู่ริมขอบเหรียญว่า
?พ.บ.ส. พระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์
พ.บ.ส. พระปรมพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พ.บ.ส. พระปรมาธิวรเสฐ มหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.บ.ส. พระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พ.บ.ส. พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว?
ด้านล่างมีอักษรว่า ?จีรํรชเช ปติฏฐาตุ?
และมีอักษรว่า ?เบนซอน? ใต้พระบรมรูป
ด้านหลัง : มีข้อความวัตถุประสงค์การจัดงานพระราชพิธี (ดูรายละเอียดภายในเรื่อง)
ชนิด : ทองคำ เงิน ทองแดง ทองแดงกะไหล่ทอง ทองแดงกะไหล่เงิน
ขนาด : เส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๓ มิลลิเมตร

นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง ?เหรียญสตพรรษมาลา? และเหรียญสมโภชพระนคร (มีคำอธิบายอยู่ในหมวดเหรียญที่ระลึก หน้า ๑๖๗) สำหรับพระราชทานเป็นที่ระลึกภายในงาน

สำหรับเหรียญสตพรรษมาลา เป็นเหรียญลักษณะกลมแบน มีทั้งทองคำ เงิน และทองแดง มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๖๒ มิลลิเมตร ที่ขอบมีรัศมีโดยรอบ ๒๐ แฉก

ด้านหน้า มีพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ๕ รัชกาล ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ มีอักษรปรากฏอยู่ริมขอบเหรียญว่า ?พ.บ.ส. พระปรโมรุราชามหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ พ.บ.ส. พระปรมพงษเชษฐมเหศวรสุนทร พระพุทธเลิศหล้านภาลัย พ.บ.ส. พระปรมาธิวรเสฐมหาเจษฎาบดินทร์ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.บ.ส. พระปรเมทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.บ.ส. พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว? เบื้องล่างมีอักษรว่า ?จีรํรชเช ปติฏฐาตุ? และมีอักษรคำว่า ?เบนซอน? ใต้พระบรมรูป (เบนซอน เป็นชื่อของบริษัทฯ ผู้พิมพ์เหรียญ)

ด้านหลัง ภายในขอบวงกลมกลางเหรียญด้านบนมีรูปจักรตรี และมีอักษรว่า ?การสมโภชพระนคร เฉลิมกรุงรัตนสินทรมหินทรายุทธยาบางกอก ในการบรรจบรอบ ๑๐๐ ปี ที่ ๑ ตั้งแต่วัน ๑ฯ๑๐ ๖ ค่ำ ปีขาน จัตวาศก ๑๑๔๔ เปนปีที่ ๑ ในรัชกาลพระบาทสมเดจพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ จนถึง ณ วัน ๖ฯ๔ ๖ ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก ๑๒๔๔ เปนปีที่ ๑๕ ในรัชกาลของพระบาทสมเดจพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันนี้? ส่วนที่ขอบเหรียญมีรูปตราเครื่องหมายประจำรัชกาล ตราอุณาโลมคั่น และมีอักษรดังต่อไปนี้

?(ตราปทุมอุณาโลม) พ.บ.ส. พระรามาธิบดีที่ ๔ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกย์ ปราบดาภิเษก ณ วันที่ ๕ฯ๔ ๘ ค่ำ ปีขาน จัตวาศก๑ จ.ศ.ร. ๑๑๔๔
(ตราครุฑ) พ.บ.ส. พระรามาธิบดีที่ ๕ พระพุทธเลิศหลานภาลัย ปราบดาภิเษก ณ วัน ๑ฯ๙ ๑๐ ค่ำ ปีมะเส็ง เอกศก๑ จ.ศ.ร. ๑๑๗๑
(ตราปราสาท) พ.บ.ส. พระรามาธิบดีที่ ๖ พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว บรมราชาภิเษก ณ วัน ๑ฯ๗ ๙ ค่ำ ปีวอก ฉศก๑ จ.ศ.ร. ๑๑๘๖
(ตรามหามงกุฎ) พ.บ.ส. พระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรมราชาภิเษก ณ วัน ๖ฯ๑๕ ๖ ค่ำ ปีกุน ตรีศก๑ จ.ศ.ร. ๑๒๑๓
(ตราจุลมงกุฎ) พ.บ.ส. พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว บรมราชาภิเษก ณ วัน ๔ฯ๙ ๑๒ ๑๒ ค่ำ ปีมะโรง สัมฤทธิศก๑ จ.ศ.ร. ๑๒๓๐?
เหรียญสตพรรษมาลานั้น มีความคล้ายกับเหรียญสมโภชพระนคร ๑๐๐ ปี ทุกประการ แต่แตกต่างกันตรงที่เหรียญสมโภชพระนคร ๑๐๐ ปี นั้นมีขอบที่กลมเรียบ

ส่วนหลักเกณฑ์ในการพระราชทานนั้น พระองค์จะทรงพระราชทานให้ทั้งเจ้านายฝ่ายนอกและฝ่ายใน ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าและเจ้าพระยาขึ้นไปจะได้รับเฉพาะเหรียญทอง ส่วนเหรียญเงินและทองแดงนั้นจะพระราชทานแก่ผู้ที่รองตามลำดับชั้นลงมา ส่วนการประดับนั้นจะใช้ห้อยกับแพรแถบผ้าสีแดงกับสีขาว
พิพิธภัณฑ์เฉลิมพระนคร (http://www.bangkokmuseum.org)

รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
BANGKOKmuseum
RETRO SOCEITY
RETRO SOCEITY
 
โพสต์: 486
ลงทะเบียนเมื่อ: อังคาร ก.ย. 08, 2009 5:13 pm
ที่อยู่: 15 ลาดพร้าว 43 ถนนลาดพร้าว กรุงเทพ 10310

ย้อนกลับต่อไป

ย้อนกลับไปยัง Coin Bank-Note Books & Card

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 34 ท่าน