ไม่ทราบว่าการเก็บเหรียญควรเก็บยังไงดีครับ

เหรียญ ธนบัตร หนังสือใหม่ และบัตรต่างๆ

โพสต์โดย o_PanJam » จันทร์ ก.ย. 11, 2006 1:23 pm

NuPung เขียน:มาพูดเรื่อง พระเครื่องต่อค่ะ

เรื่องพระเครื่องนี่ คุณลองเอาพระที่คุณเก็บเอาไว้ ซัก 20 ปี และรู้ว่าแท้แน่นอน
ไปให้เซียนดูสิค่ะ

บางที่เขาก็ว่าของเราเก๊ ค่ะ ทั้งๆ ที่เราได้มาจาก เจ้าอาวาสสมัยนั้น :o

ลองดูสิ :lol:


อันนี้ก็เป็นส่วนนึงในวิธีการของเซียนนะครับ

ถ้าเค้าบอกว่าปลอม แล้วเค้าขอซื้อหรือป่าว ส่วนใหญ่จะบอกว่าซื้อไว้เป็นตัวอย่าง

ถ้าขายก็เข้าทางล่ะครับ

และยังมีวิธีการต่างๆ อีกมาก


อ้อ!!! ร้านที่จตุจักร ลุงที่ชอบใส่หมวกงะ

ผมก็โดนมาแล้ว เหรียญ ร.5 ตราแผ่นดิน ผมซื้อมาแบบครบ รศ.

ด้วยความเชื่อใจว่าร้านนี้คงไม่มีของปลอม

แต่พอกลับมาถึงบ้าน เพื่อนบอกว่าปลอม

ผมนอนไม่หลับไปเกือบสัปดาห์

แล้วก็เอากลับไปเปลี่ยนเป็นธนบัตร โชคดีที่ยังได้เปลี่ยน แต่ก็เจ็บตัวไปเยอะครับ
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_PanJam
 
โพสต์: 159
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 10:39 pm
ที่อยู่: อ.เมืองชลบุรี

โพสต์โดย NuPung » จันทร์ ก.ย. 11, 2006 5:03 pm

PanJam เขียน:ผมก็โดนมาแล้ว เหรียญ ร.5 ตราแผ่นดิน ผมซื้อมาแบบครบ รศ.

ด้วยความเชื่อใจว่าร้านนี้คงไม่มีของปลอม

แต่พอกลับมาถึงบ้าน เพื่อนบอกว่าปลอม

ผมนอนไม่หลับไปเกือบสัปดาห์

แล้วก็เอากลับไปเปลี่ยนเป็นธนบัตร โชคดีที่ยังได้เปลี่ยน แต่ก็เจ็บตัวไปเยอะครับ


โห...โดนแบบนี้ก็แย่เลยสิค่ะ :x
อย่างดิฉันถ้าไม่ไว้ใจจริงๆ ก็คงไม่ซื้อร้านนั้น
แบบว่า เสียเงินไม่ว่า แต่เจ็บใจนี่สิ จำนาน...

พวกเหรียญตราแผ่นดิน ถ้าปลอมดูค่อนข้างง่ายนะคะ
(ถ้าเคยเห็นของจริงมาก่อน นะคะ)
วันนี้มาบอก ลักษณะของเหรียญจริง ร.5 ตราแผ่นดิน ค่ะ :lol:
1. เอาเหรียญวางบนพื้นที่เรียบๆ ค่ะ (โต๊ะ ก็ได้ค่ะ) เหรียญ จะไม่มีการ นูนหรือ เด้ง เกินขอบเหรียญ (ต้องพิสูจน์ ทั้ง 2 ด้านนะคะ)
2. ดูขอบเหรียญค่ะ รอย หยักๆ (เค้าเรียกว่าอะไร ลืมไปแล้ว :oops: ) มันจะเท่ากันทั้งหมด
3. เอา วางบนปลายนิ้วชี้ น้ำหนักของเหรียญ จะ เท่า กันทั้งเหรียญ ไม่มีการเอียงไปทางใด ทางหนึ่ง ( ถ้าเอียงแสดงว่าใส้ มันไม่ใช่เงินค่ะ)
4. ชั่งน้ำหนัก ว่าตรงตามตำรารึเปล่า ...(จำไม่ได้เหมือนกันว่าเท่าไหร่ ....ฮา...)
ข้อ 4 อาจ เบา กว่า จากการสึกก็ได้นะคะ ...หรือ อาจหนักเกิน ก็ เคยเจอเหมือนกัน ค่ะ

ส่วน วิธีอื่นๆ รอ คนต่อไปมาเพิ่ม อิอิ
ภาพประจำตัวสมาชิก
NuPung
 
โพสต์: 71
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ค. 28, 2006 2:27 pm
ที่อยู่: สุรินทร์

โพสต์โดย o_lekpn » จันทร์ ก.ย. 11, 2006 9:08 pm

ก่อนอื่นขอ ออกตัวไว้ก่อนว่าไม่ได้รู้มากไปกว่านักสะสมท่านอื่นๆแต่ขอเสริมนิดนึงครับ :D

1. เอาเหรียญวางบนพื้นที่เรียบๆ ค่ะ (โต๊ะ ก็ได้ค่ะ) เหรียญ จะไม่มีการ นูนหรือ เด้ง เกินขอบเหรียญ (ต้องพิสูจน์ ทั้ง 2 ด้านนะคะ)


นี่เป็นข้อสังเกตพื้นฐานของเหรียญจริงหรือปลอมเลยครับ แต่ใช้กะเหรียญปลอมแบบหยาบ หรือพวกปลอมพื้นๆ ซึ่งใช้การหล่อเหรียญจึงมักบวมตรงกลาง ผิดกะเหรียญจริงที่ใช้การปั๊ม จึงเรียบเท่ากันเสมอ การพิสูจน์ใช้ตาเปล่าก็พอดูออก เหรียญที่มีราคาแพงต้องระวังการพิสูจน์ที่จะทำให้เหรียญเกิดตำหนิ

อย่าลืมว่าการจับเหรียญที่ถูกต้อง ต้องจับที่ขอบเหรียญเท่านั้น นักสะสมเหรียญตัวจริงดูได้ที่การจับเหรียญครับ :D

2. ดูขอบเหรียญค่ะ รอย หยักๆ (เค้าเรียกว่าอะไร ลืมไปแล้ว ) มันจะเท่ากันทั้งหมด


ผมเรียกเฟืองครับ (เหมือนพวก ฟันเฟือง) เหรียญหนวดปลอมส่วนใหญ่ขอบเหรียญเหมือนเอาเลื่อยมาเลื่อยเอาอ่ะครับ คือไม่สวยงามและไม่เท่ากัน อย่างที่คุณNuPung บอกล่ะครับ

3. เอา วางบนปลายนิ้วชี้ น้ำหนักของเหรียญ จะ เท่า กันทั้งเหรียญ ไม่มีการเอียงไปทางใด ทางหนึ่ง ( ถ้าเอียงแสดงว่าใส้ มันไม่ใช่เงินค่ะ)


อันนี้ไม่แนะนำเลยครับ อย่างที่บอกว่าควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสที่ลวดลายของเหรียญทุกกรณี :D

4. ชั่งน้ำหนัก ว่าตรงตามตำรารึเปล่า ...(จำไม่ได้เหมือนกันว่าเท่าไหร่ ....ฮา...)


อันนี้เป็นวิธีการพิสูจน์ที่ถูกต้องเที่ยงตรงที่สุด แต่คนใช้วิธีนี้น้อยที่สุด รวมถึงผมด้วยครับ :lol: ตั้งแต่สะสมเหรียญมา ไม่เคยเอาเหรียญไปชั่งเลยครับ :lol: :lol: :lol:

ที่คุณ NuPung แนะนำมาทั้งหมดนี้ ก็ครอบคลุมแทบทั้งหมดเลยครับ แสดงว่าคุณพ่อสอนมาหรือเปล่าครับ สุดยอดจริงๆ :D

อีกข้อนึงที่ต้องสังเกต คือตำหนิหรือลวดลายบนเหรียญ ยกตัวอย่างเช่น เฟื้องทองคำของพี่ดวง ที่พี่บางรักเคยแนะนำไว้ว่า รัศมีที่อยู่บนพระมหาพิชัยมงกุฏต้องมีข้างละ 7 เส้น แต่ของพี่ดวงมี 6 เส้น ก็ต้องศึกษากันต่อไป :D
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย NuPung » พุธ ก.ย. 13, 2006 6:09 pm

บางเหรียญทั้งดูทั้งชั่ง ก็ยังไม่รู้ว่าของจริงรึเปล่าก็มีค่ะ :(
อย่างเหรียญ เงิน ร.5 รศ 127 น่ะค่ะ
(ถ้าไม่เคยเห็นของจริงมาก่อน ก็ ไม่กล้าฟันธงค่ะ)
ไม่ทราบใครจะพอชี้แนะได้บ้างคะ ว่ามีจุดสังเกตุอะไรบ้าง
หรือ คุณเล็ก หรือ เพื่อนๆ มีของจริง เอารูปมาให้ดูบ้างสิคะ
อยากดูเฟือง ของเหรียญ กับ ตรงพระโอษ (ถ้าพิมพ์ผิดขออภัยนะคะ) ด้วยค่ะ ว่าเป็นแบบไหน :P
ภาพประจำตัวสมาชิก
NuPung
 
โพสต์: 71
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ค. 28, 2006 2:27 pm
ที่อยู่: สุรินทร์

โพสต์โดย o_lekpn » พุธ ก.ย. 13, 2006 6:39 pm

หมายถึงเหรียญหนวดใช่ไหมครับ พี่ดวงมีครับเอามาโชว์อีกครั้งได้ป่าวครับพี่ ส่วนรายละเอียดอื่นๆ รอพรุ่งนี้นะครับ :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย o_น้ำมะเน็ด » พุธ ก.ย. 13, 2006 9:10 pm

ต้องมาฟื้นความหลังกันอีกรอบแล้วสิ...

4. ชั่งน้ำหนัก ว่าตรงตามตำรารึเปล่า ...(จำไม่ได้เหมือนกันว่าเท่าไหร่ ....ฮา...)


อันนี้ไม่เคยลองกับเหรียญ...แต่ถ้าพดด้วง...ใช้ได้ค่อนข้างดีเลย..

แต่มีข้อสังเกตุตรงอยุธยากับรัตนโกสินทร์ที่..น้ำหนักจะไม่เท่ากัน... :wink:

กลับไปถ่ายรูปมาใหม่ของเก่าหาไม่เจอ..

คุณNuPung ลองไปศึกษาดูนะ...

เหรียญนี้มีตำหนิตรงที่สมัยก่อนไม่มีกรอบเลี่ยม

คนที่ได้มาก็คงเจาะรูแล้วใส่เชือกคล้องคอ...

รูปภาพ

รูปภาพ
คนที่ปราศจากความรักในการสะสมย่อมมีเพียงชีวิตเดียว
ต่างจากคนที่รักการสะสมซึ่งมีสองชีวิต เพราะเขาใช้ชีวิตพร้อมกันไปใน"โลกสองโลก"

ที่มา:หนังสือเครื่องเสียงโบราณตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_น้ำมะเน็ด
 
โพสต์: 6076
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 09, 2005 6:06 pm
ที่อยู่: CokeThai.com

โพสต์โดย o_น้ำมะเน็ด » พุธ ก.ย. 13, 2006 9:22 pm

ส่วนเหรียญเฟื้องทอง..อันนี้ที่มีปัญหา

เทียบกับเฟื้องเงิน...ดูเผินๆน่าจะแท้...แต่ไปๆมาเอาแท้ๆมาเทียบแล้ว :cry:

รูปภาพ

รูปภาพ

ดูให้ละเอียด..ใกล้ๆอีกทีเหรียญนี้..ถึงจะไม่ 100 % แต่ก็ยังรักไม่รู้เป็นไร

รูปภาพรูปภาพ

รอคุณเล็กเอาอันที่แท้มาเทียบละกัน
คนที่ปราศจากความรักในการสะสมย่อมมีเพียงชีวิตเดียว
ต่างจากคนที่รักการสะสมซึ่งมีสองชีวิต เพราะเขาใช้ชีวิตพร้อมกันไปใน"โลกสองโลก"

ที่มา:หนังสือเครื่องเสียงโบราณตำนานแห่งศาสตร์และศิลป์
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_น้ำมะเน็ด
 
โพสต์: 6076
ลงทะเบียนเมื่อ: อาทิตย์ ต.ค. 09, 2005 6:06 pm
ที่อยู่: CokeThai.com

โพสต์โดย o_lekpn » พฤหัสฯ. ก.ย. 14, 2006 8:29 pm

รอคุณเล็กเอาอันที่แท้มาเทียบละกัน


จะไปเอามาจากที่ไหนล่ะคร้าบพี่ :lol:

เห็นเหรียญหนวดของพี่ทีไรแล้วก็ กิเลิสขึ้นครับ แต่เงินไม่ถึงอ่ะ :(
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย cherdsak_y » ศุกร์ ก.ย. 15, 2006 9:49 am

ผมขอคัดลอกวิธีเก็บรักษาเหรียญ จาก
http://www.treasury.go.th/coin/webboard ... PageShow=1

การเก็บรักษาเหรียญ

คุณค่าของเหรียญโดยทั่วไปแล้ว จะถูกกำหนดโดยสภาพความสมบูรณ์ เหรียญเก่าที่มีสภาพเหมือนกับที่เพิ่งผลิตออกมาจากโรงกษาปณ์ใหม่ๆ ย่อมมีคุณค่าสูงกว่า เหรียญชนิดเดียวกัน ที่ถูกใช้มานาน จนเกิดรอยขูดขีด ชำรุด หรือ มีตำหนิ เงินโบราณหลายชนิด เช่น เงินพดด้วง เงินเจียง เงินกรีก โรคุณ ซึ่งมีอายุนัยร้อย จนถึงหลายพันปี ซึ่งถูกขุดขึ้นมา ด้วยผ่านกาลเวลาอันยาวนาน แล้งตกทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน ย่อมผ่านการใช้จ่ายมามากบ้าง น้อยบ้าง หรือ ไม่ได้ถูกใช้เลยก็มี สภาพของเหรียญเหล่านี้จึงต่างกัน คุณค่าก็ต่างกันไปตามสภาพเช่นเดียวกัน ในปัจจุบันนี้ มีผู้นิยมสะสมเหรียญเพิ่มมากขึ้น นับเป็นสิ่งที่น่ายินดี ที่จะได้มาร่วมกันอนุรักษ์ เก็บรักษาเหรียญ อันเปรียบเหมือนหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ให้คงสภาพเดิมในปัจจุบัน ให้ยาวนานที่สุด เหมือนกับเงินโบราณ ที่มีอายุนัยร้อยนับพันปี

เหรียญกษาปณ์ และเหรียญที่ระลึก ล้วนทำด้วยโลหะ ซึ่งคงทนต่อสภาพอากาศ และสิ่งแวดล้อมที่แปรเปลี่ยน ได้ดีกว่าแสตมป์ และ ธนบัตร การเก็บรักษาเหรียญเหล่านี้ จึงง่ายคลายกังวลลงได้ อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัจจัยหลายอย่าง ที่ทำให้เหรียญเสื่อมสภาพลงโดยที่คาดไม่ถึงได้ เพื่อให้คุณค่าของเหรียญไม่ลดลง โดยไม่ได้ตั้งใจ จึงขอเสนอเหตุปัจจัย ที่ทำให้เหรียญเสื่อมสถาพลง พร้อมทั้งวิธีการเก็บรักษา เพื่อให้เหรียญคงสภาพเดิมได้นานที่สุด หรือเพื่อชลอการเสื่อมสภาพ ให้ได้ยาวนานที่สุด ไม่ให้เสียหายเพราะน้ำมือของเราเอง

ปัจจัยที่ทำให้เหรียญเสื่อมสภาพ

ความชื้น ประเทศไทยของเราตั้งอยู่ในเขตร้อนชื้น ความชื้นในอากาศ เมื่อมีปัจจัยอื่นร่วมด้วย เช่น ความร้อน ความเย็น อาจทำให้ไอน้ำในอากาศ ควบแน่นเป็นหยดน้ำ ติดอยู่บนผิวเหรียญ ถ้ามีก๊าซพิษ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซไข่เน่า อยู่ด้วย น้ำจะมีฤทธิ์เป็นกรดอ่อนทันที ทำให้กัดกร่อนผิวของเหรียญได้
น้ำ เหรียญที่แช่ในน้ำนานๆ ย่อมสึกกร่อนได้เร็วกว่า การเก็บไว้ในที่ชื้น เพรษะน้ำในธรรมชาติ จะมีฤทธิ์เป็นกรด (Acid) หรือ ด่าง (Base) อย่างอ่อน ยากที่จะมีฤทธิ์เป็นกลาง (Neutral) ทั้งกรดและด่าง ล้วนสามารถที่จะกัดกร่อนโลหะได้ทั้งสิ้น
ความร้อน มีผลต่อเหรียญที่ผิวสกปรก มีคราบเหงื่อไคล ซึ่งมีน้ำคุณ และ เกลือที่ละลายอยู่ในเหงื่อ หรือ เหรียญที่มีไอน้ำกรดด่างติดอยู่ ความร้อนจะเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาให้สารเคมีเหล่านี้ กัดกร่อนผิวเนื้อเหรียญให้เสียหายได้
แสงสว่าง เมื่อถูกผิวเหรียญ พลังงานส่วนหนึ่งของแสง จะถูกเปลี่ยนเป็นความร้อน ซึ่งเป็นผลเสียต่อผิวของเหรียญได้ เมื่มีปัจจัยอื่น เช่น ก๊าซ หรือ ความชื้น เข้ามาเกี่ยวข้อง
อากาศ ในอากาศมีก๊าซหลายชนิด ผสมปนกันอยู่ เหรียญที่ทำด้วยโลหะชนิดต่างๆ มีความไวต่อปฏิกิริยากับก๊าซชนิดต่างๆ ไม่เท่ากัน ถ้าเก็บอย่างไม่ระมัดระวัง ผิวเหรียญอาจสึกกร่อนได้
สารเคมี อันประกอบด้วย กรด ด่ง และ เกลือ ล้วนมีผลทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมี กับผิวเหรียญได้ ควรเก็บเหรียญให้ห่างจากสารเคมีต่างๆ
เหงื่อ บนนิ้วมือของเรา มีต่อมเหงื่ออยู่ทั่วไปตามแนวเส้นลายมือ นอกจากนั้น นิ้วมือที่จับเหรียญยังอาจนำคราบสกปรกอื่นๆ เช่น ฝุ่น หรือ เศษอาหารมาติดเหรียญได้
สัตว์ต่างๆ เช่น มด หนู แมลงสาบ อาจมาทำรังในตู้เก็บเหรียญ หรือมาเหยียบย่ำเหรียญให้เป็นรอยได้ ควรหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ
ฝุ่นละออง เป้นสิ่งที่มองไม่เห็น มีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ อาจทำให้เกิดคราบติดแน่นบนผิวเหรียญได้
การตกหล่น กระทบกระแทก และการขัดถูเหรียญ เป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง เพราะทำให้ เหรียญสูญเสียคุณค่าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ สภาพของเหรียญที่ไม่ได้แตะต้องเลย เรียกว่า "ผิวเดิม" เป็นที่ปรารถนาของผู้สะสม เหรียญผิวเดิมบางชนิด มีราคาสูงกว่าเหรียญชำรุดหลายสิบเท่า
ไฟ นอกจากทำลายตัวเหรียญให้หลอมละลายแล้ว ยังทำลายทรัพย์สินอื่นๆ อีกด้วย
วิธีการเก็บรักษาเหรียญ

เก็บในที่ๆ อากาศแห้งที่สุด โดยใช้ถุง หรือ ภาชนะอื่นที่ปิสนิท อากาศเข้าไม่ได้ แล้วใช้สารดูดความชื้น ที่ไม่มีไอพิษ เช่น ซิลิกาเจล ควบคุมความชื้นสัมพัทธ์ให้ต่ำกว่า 45% ไม่ควรเก็บไว้ในห้องอับชื้น อันอาจเกิดเห็ด รา หรือเป็นที่ทำรังของมดปลวกได้
เก็บในที่ๆควบคุมอุณหภูมิได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ควรเก็บไว้ในห้องที่ปรับอากาศบางเวลา เพราะว่าเมื่อปิดเครื่องปรับอากาศแล้ว จะทำให้หยดน้ำมาเกาะที่ผิวเหรียญได้
หมั่นตรวจตราดูแลความสะอาดบริเวณที่เก็บ ไม่ให้มีเศษอาหารตกค้าง ไม่ให้รกรุงรัง เป็นที่อาศัยของ มด หนู และ แมลงต่างๆ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับบรรยากาศ โดยใส่ตลับ ซองพลาสติก หรือ ซองเหรียญ (Mount) แล้วปิดผนึกไม่ให้อากาศเข้าได้ ไม่ควรผนึกแน่นเกินไปจนกดทับตัวเหรียญ
ไม่วางทับซ้อนกัน ควรวางแยกจากกัน ระวังไม่ให้เหรียญกระทบ ขูดขีดกัน
ไม่ควรเคลือบผิวเหรียญด้วยสารใดๆ เพราะทำให้สารเหล่านี้ ติดกับผิวเหรียญ เมื่อลอกออก จะทำให้ผิวเสียหายได้
การหยิบจับ ควรใช้ถุงมือป้องกันเหงื่อติดตัวเหรียญ หรือ ถ้าต้องใช้มือจับ ควรจับที่ขอบเหรียญ โดยล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่แล้วเช็ดให้แห้งเสียก่อน
เมือหยิบจับ ควรระวังไม่ให้ตก เมื่อเคลื่อนย้ายควรวางบนถาด ที่ปูด้วยผ้านุ่มที่ปราศจากสารเคมี
ห้ามใช้กาว หรือ เทปกาว ติดตัวเหรียญ
ตู้เก็บหรือตู้จัดแสดง ต้องปราศจากสารระเหย เช่น แลคเกอร์ หรือ ยาฆ่าแมลง และ ต้องปิดสนิท
ตู้เก็บเหรียญเงิน ควรอยู่ห่างพื้นดินมากๆ ไม่ควรอยูใกล้ห้องน้ำ ท่อระบายน้ำ และ น้ำเน่า ฐานตู้จัดแสดง ควรใช้ผ้าชุบสารละลายตะกั่วอาซีเตท (PbAcO) เพื่อป้องกันก๊าซไข่เน่า จากบรรยากาศที่ทำให้ผิวเงินดำได้
ไม่เก็บเหรียญที่เป็นสนิมปะปนกับเหรียญสภาพดี เพราะสนิมสามารถลามไปติดเหรียญได้ ยิ่งถ้าร้อนชื้น จะทำให้เกิสนิมเร็วขึ้น
วิธีการทำความสะอาดเหรียญ

การเก็บรักษาเหรียญ เป็นวิธีการป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหาย ขึ้นกับเหรียญ แต่ถ้าเหรียญสกปรกเสียหาย เหมือนกับเกิดโรคขึ้นแล้ว จำเป็นต้องใช้ยารักษา คือ การทำความสะอาด อันเป็นสิ่งที่ไม่ควรให้เกิดขึ้น เพราะเป็นผลเสียมากกว่าผลดี ทำให้คุณค่าของเหรียญลดลง โดยเฉพาะ เหรียญที่ทำปฏิกิริยากับอากาศนานๆ จนมีสี (Toning) แสดงถึงความเก่าแก่ อันเป็นที่นิยมมากในยุโรบ และอเมริกา อย่างไรก็ตามเหรียญที่สกปรกมากๆ อาจทำความสะอาดได้ โดยล้างอย่างระวัง ในน้ำสบู่ หรือ แปลงขนอ่อน ปัดเบาๆ ใช้สำลีนุ่มๆ ห้ามแช่ในน้ำกรดส้มมะขาม หรือมะนาวเด็ดขาด ข้อพึงสังวรคือ การทำความสะอาดนั้น แท้จริงแล้วเป็นการทำลายความเป็น "ผิวเดิม" ของเหรียญ อย่างที่ไม่สามารถกลับคืนมาได้อีก เปรียบเสมือนพรหมจารีของสตรีเช่นนั้น นอกจากนั้น เดี๋ยวนี้มีน้ำยาล้างเหรียญเงิน ที่มีสารไซยาไนด์เป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดปฏิกิริยารุนแรง ทั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ใช้ จึงต้องระมัดระวัง ทั้งไม่แช่นานเกินไป จนผิวถูกกัดกร่อน ควรใช้น้ำยานี้ทำความสะอาจเหรียญที่สกปรกเท่านั้น ไม่ควรใช้กับเหรียญดีผิวเดิม



จากคุณ : พิบูลย์ ศรีสันติสุข [เลขที่สมาชิก 00000000193] - [ 17 สิงหาคม 2549 11:54 น. ]
cherdsak_y
 
โพสต์: 35
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.ย. 14, 2006 12:09 pm

โพสต์โดย cherdsak_y » ศุกร์ ก.ย. 15, 2006 10:01 am

สำหรับผมเองก็เก็บใส่เล่มครับ แต่ไม่เปียก มีแต่ดำ ด่าง และสนิมเขียวครับ
ที่ไม่เปียกอาจจะเป็นเพราะว่าผมจะใช้ผ้าเช็ดเหรียญก่อนใส่ในเล่มครับ
ตอนนี้คิดวิธีใหม่ได้คือนำเหรียญใส่ซองซิปขนาดเล็กก่อนแล้วค่อยใส่ไปในเล่ม
ตอนนี้หาซองได้ขนาด 3 X 3 ซม. ใส่ได้ถึงเหรียญขนาด 10 บาท โลหะสองสี แต่ใส่เหรียญ 10นิเกิล 20 50 และ 100 บาทไม่ได้
กำลังหาขนาด 4 X 4 ซม. อยู่ครับ

เกี่ยวกับเหรียญปลอมนี่ ผมสงสัยว่าเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกสมัย รัชกาลที่ 9 มีการปลอมไหมครับ
ผมกำลังตามหาเหรียญ 50 และ 100 บาทอยู่ครับ กลัวเจอปลอมเหมือนกันครับ
cherdsak_y
 
โพสต์: 35
ลงทะเบียนเมื่อ: พฤหัสฯ. ก.ย. 14, 2006 12:09 pm

โพสต์โดย NuPung » ศุกร์ ก.ย. 15, 2006 12:19 pm

พี่น้ำมะเน็ด สะสมเหรียญทองด้วยเหรอคะ :shock:
(ยังไม่เคยเห็นเหรียญเฟื้องทองของจริงมาก่อนเลยค่ะ)
ของพ่อหนูมีแต่พวกเหรียญเงินทั้งนั้นเลยค่ะ ส่วนใหญ่มันก็จะเจาะรูเหมือนกันค่ะ
รู้สึกว่าสมัยก่อนเขาเอามาทำกระดุมกัน :P
ที่มีหลายเหรียญคงเพราะ แต่ก่อนนี้เวลาเอาเหรียญมาขายที่กรุงเทพ
เขาจะเอาแต่เหรียญที่ไม่มีรู แล้วเหรียญบางอย่างราคามันถูกมากๆ เลยเสียดายเก็บเอาไว้เอง :lol:

ไม่ทราบว่าตอนนี้พวกเฟื้องเงิน ถ้ามีรู ด้วย เขา ขายกันที่ราคาเท่าไหร่คะ
(บางเหรียญ รู ตรงกลาง2 รู , บางอันก็รูตรง ขอบ 1 รู)

อืม...แล้วพวกเฟื้องเงินน่ะ บางเหรียญด้านในของขอบ จะไม่ค่อยเท่ากันนะคะ
แต่ความหนาของเหรียญจะเท่ากัน
อันนี้จะรวมเหรียญทองด้วยรึเปล่า ไม่ทราบนะคะ (อย่างที่บอกไม่เคยเห็นของจริง)
เรื่องนี้น้องมั่นใจค่ะ เพราะ เหรียญที่เห็นมา มีมานานกว่า 20 ปีแล้วค่ะ
แล้วสมัยก่อนยัง ไม่ค่อยมีคนปลอมเหรียญพวกนี้ค่ะ


ส่วนเหรียญ 127 เราเคยเอาเหรียญที่คิดว่าแท้ มา พิสูจน์ เนื้อโลหะค่ะ
มีอันนึง เป็นตะกั่ว ค่ะ ...เอาเผาดูค่ะ
อีก 2 เหรียญ มันเป็นเงินแท้ ...แต่เคยได้ยินมาว่า เหรียญรุ่นนี้ปลอมได้เหมือนมาก
เลยชักไม่แน่ใจค่ะ :?
ต้องขออนุญาติ พี่ ปริ้นรูปเหรียญไปส่องดู แล้วล่ะค่ะ ....555+++ :lol:

ขอบคุณ พี่ๆ ที่เอาเหรียญมาให้ชมนะคะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
NuPung
 
โพสต์: 71
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ค. 28, 2006 2:27 pm
ที่อยู่: สุรินทร์

โพสต์โดย o_lekpn » ศุกร์ ก.ย. 15, 2006 6:37 pm

ส่วนเหรียญ 127 เราเคยเอาเหรียญที่คิดว่าแท้ มา พิสูจน์ เนื้อโลหะค่ะ
มีอันนึง เป็นตะกั่ว ค่ะ ...เอาเผาดูค่ะ
อีก 2 เหรียญ มันเป็นเงินแท้ ...แต่เคยได้ยินมาว่า เหรียญรุ่นนี้ปลอมได้เหมือนมาก
เลยชักไม่แน่ใจค่ะ
ต้องขออนุญาติ พี่ ปริ้นรูปเหรียญไปส่องดู แล้วล่ะค่ะ ....555+++

ขอบคุณ พี่ๆ ที่เอาเหรียญมาให้ชมนะคะ


อย่าให้ถึงกะเผาเลยครับ เด๋วเหรียญเสียสภาพหมด :shock: เอาเป็นว่าดูลวดลายของเหรียญและชั่งน้ำหนักเอาจะดีกว่านะครับ เพราะเหรียญเงินในสมัยรัชกาลที่ 5 มักจะทำจากเมืองนอก จึงมีความสวยงามและคมชัด :lol:
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย o_lekpn » เสาร์ ก.ย. 16, 2006 9:01 pm

เอาเหรียญแท้มาให้ดูครับ เพิ่งจะหาภาพเจอ อิ อิ อิ :lol:

รูปภาพ
รูปภาพรูปภาพ

ของแท้ ต้องมีเนื้อเกิน หรือขี้กลาก ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นของจริงเลยครับ สังเกตว่ารัศมีมีข้างละ 7 เส้นจริงๆอ่ะ :shock: เอาของพี่ดวงมาเทียบดูน่าจะชัด
รูปภาพ
ภาพประจำตัวสมาชิก
o_lekpn
 
โพสต์: 12266
ลงทะเบียนเมื่อ: เสาร์ ต.ค. 08, 2005 8:39 pm
ที่อยู่: 98 ถ.นนทรี ช่องนนทรี ยานนาวา กรุงเทพฯ

โพสต์โดย NuPung » อาทิตย์ ก.ย. 17, 2006 10:56 am

lekpn เขียน:ของแท้ ต้องมีเนื้อเกิน หรือขี้กลาก ผมเองก็ยังไม่เคยเห็นของจริงเลยครับ สังเกตว่ารัศมีมีข้างละ 7 เส้นจริงๆอ่ะ


เรื่องรัศมี 7 เส้น เห็นด้วยค่ะ :P
แต่เรื่องขี้กลากนี่ อาจไม่มีทุกเหรียญก็ได้นะคะ (มั้งค่ะ :?: )
มันอาจมีหลายบล็อค (รึเปล่า) หรือว่า บล็อคมันใกล้จะแตก
ถ้ามีรูปมากกว่านี้ก็ดีเน้อ...

(ไม่เคยเห็นของจริงเหมือนกันค่ะ)
ภาพประจำตัวสมาชิก
NuPung
 
โพสต์: 71
ลงทะเบียนเมื่อ: ศุกร์ ก.ค. 28, 2006 2:27 pm
ที่อยู่: สุรินทร์

ย้อนกลับ

ย้อนกลับไปยัง Coin Bank-Note Books & Card

ผู้ใช้งานขณะนี้

กำลังดูบอร์ดนี้: ไม่มีสมาชิกใหม่ และ บุคคลทั่วไป 2 ท่าน

cron